Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Importing with a specification

Importing with a specification คือการนำเข้าข้อมูลด้วยรูปแบบที่เรากำหนดขึ้นมาเอง ในการทำงานโปรแกรมจะแปลงข้อมูลที่เรานำเข้าจากรูปแบบของไฟล์ ให้ไปเก็บอยู่ใน Entities และ Link เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์หรือเพื่อการนำเสนอตามที่เราต้องการ บนชาร์ตที่เราสร้างขึ้น

การกำหนดการนำเข้า จะเป็นตัวควบคุมให้ข้อมูลของเราในการนำเข้าและแสดงผลบนชาร์ต เราสามารถทำงานด้วยการนำเข้าแบบที่เรากำหนดเองได้ 3 แบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของข้อมูลของเรา เราสามารถเริ่มการนำเข้าด้วยรูปแบบที่เรากำหนดโดยการนำเข้าด้วย รูปแบบการนำเข้าที่เราสร้างและบันทึกไว้แล้วได้ หรือไม่ สามารถแก้ไขรูปแบบการนำเข้าที่เราสร้างไว้แล้วก็ได้ หรือใม่ สามารถสร้างรูปแบบการนำเข้าที่เรากำหนดเองขึ้นมาใหม่ได้

ในการดำเนินการนำเข้าดังกล่าว ในเบื้องต้นโปรแกรมจะสร้างตัวช่วยให้เรา ว่า เราต้องการจะสร้างหรือแก้ไข หรือใช้รูปแบบการนำเข้าที่เราสร้างไว้แล้ว แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของโปรแกรมก็ได้ เราสามารถสร้างใหม่ได้ ทุกๆๆ ข้อมูลที่เรามี รายละเอียดเกี่ยวกับตัวช่วยของโปรแกรมในการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่เรากำลังนำเข้า ตรงกับรูปแบบการนำเข้าที่เราได้สร้างไว้แล้วหรือไม่ จะอยู่ในขั้นตอนการนำเข้าด้วยแหล่งข้อมูล ส่วนประกอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในภาพรวมมีส่วนประกอบดังนี้

Starting from a data source

ในการนำเข้าข้อมูลโปรแกรมจะรองรับไฟล์ในการนำเข้าได้หลายรูปแบบ เมื่อเราเลือกวิธีการนำเข้าผ่านทางแหล่งข้อมูลที่เราต้องการจะนำเข้า โปรแกรมจะใช้วิธีการตรวจสอบว่ามีการเข้ากันได้ใหม ระหว่างข้อมูลที่เรากำลังจะนำเข้า กับรูปแบบการนำเข้าที่เราได้สร้างและบันทึกไว้แล้ว

Starting from an import specification

คือการนำเข้าผ่านทางรูปแบบการนำเข้าที่เราสร้างไว้แล้ว ซึ่งเป็นช่องทางการนำเข้าช่องทางหนึ่งที่สะดวกและมีความยึดหยุ่นสูง ที่เราสามารถดำเนินการได้ในกรณีที่เราไม่ต้องการนำเข้าผ่านทางแหล่งข้อมูล

Creating or editing an import specification

เป็นการสร้างและแก้ไข ข้อกำหนดการนำเข้ารวมถึงวิธีการในการแปลงข้อมูลที่เรากำลังจะนำเข้า จากเดิมเป็นข้อมูลไฟล์ มันจะเปลี่ยนไปเก็บไว้ใน Entities, ink ซึ่งเราสามารถนำไปใช้งานในด้านการวิเคราะห์ต่างๆๆ ในขั้นตอนนี้แหละเป็นขั้นตอนการนำเข้าที่มีการแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆๆ จนออกมาเป็นชาร์ต ประกอบด้วย

  • Setting the import data structure เป็นขั้นตอนการปรับแต่งคอลัมภ์ เพื่อให้มีความเหมาะสมในการนำเข้า
  • Selecting rows for import การเลือกแถวที่จะนำเข้า รวมทั้งการกำหนดหัวข้อของคอลัมภ์ ว่าจะเอาแถวไหนเป็นหัวข้อคอลัมภ์
  • Transforming incoming data การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลที่เรากำลังนำเข้าหรือเป็นการแปลงข้อมูลเพื่อให้เหมาะสม อย่างเช่นการวมคอลัมภ์ การแก้ไขค่าในคอลัมภ์ การนำเข้ามูลออกไปเป็นข้อมูลใหม่
  • Import designs เป็นขั้นตอนการออกแบบชาร์ตที่เราต้องการให้ออกมาว่าเป็นไปในลักษณะได รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติของรายการ ได้แก่การกำหนดคุณสมบัติของ Entity, Link ในขั้นตอนนี้ หากเรานึกถึงการเขียนชาร์ต มันจะรวมอยู่ในหน้าเดียวกันเลย ของการดำเนินการ คือการเพิ่มรายการลงไปในชาร์ต กับการเพิ่มคุณสมบัติให้กับรายการ
  • Setting date and time formats การกำหนดวันเวลา ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างหรือรูปแบบของวันเวลาที่เรากำลังจะนำเข้า
  • Complete import details โปรแกรมจะแจ้งรายละเอียดการนำเข้าทั้งหมดให้เราทราบ เผื่อว่ามีปัญหาตรงไหน เราสามารถกลับไปแก้ไขได้

Saving an import specification

รองรับการบันทึกรูปแบบการนำเข้าที่เรากำลังดำเนินการตามที่เรากำหนดเอง ในการบันทึกเราสามารถบันทึกได้ในขณะที่เรากำลังนำเข้า หรือนำเข้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือในขณะที่เราเลือกแบบแก้ไขการนำเข้า

Managing import specifications

จะเป็นตัวช่วยในการจัดการเกี่ยวกับรูปแบบการนำเข้าที่เราสร้างแล้ว หรือในกรณีมีการทำงานกันหลายคน เป็นทีม เราสามารถจัดการได้หมด อย่างเช่นการเปลี่ยนชื่อ หรือทำซ้ำ รูปแบบการนำเข้าที่เราเคยสร้างมาแล้ว รวมถึงการปรับแต่งสถานที่ตั้งของข้อมูลที่เก็บเกี่ยวกับรูปแบบการนำเข้าที่เราเคยสร้างไว้แล้ว

Tags:  , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *