Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Import Specification

Import Specification คือการกำหนดรูปแบบการนำเข้า เมื่อเราดำเนินการนำเข้าข้อมูล โดยมีตัวช่วยในการนำเข้า ซึ่งมีขั้นตอนประมาณ 10 ขั้นตอน จนเสร็จออกมาเป็นชาร์ตแล้วเราบันทึกรูปแบบการนำเข้านั้น ในการนำเข้าในครั้งหลัง เราใช้ตัวกำหนดการนำเข้าที่เราสร้างมาแล้วนั้นแหละเป็นตัวนำเข้าใหม่อีกครั้ง ชาร์ตและรูปแบบชาร์ตต่างๆๆ ที่แสดงจะเหมือนกันทุกครั้ง มันช่วยลดเวลาในการทำงานได้มาก ในการนำเข้าแต่ละครั้งหากรูปแบบการนำเข้าที่เรากำหนดเองตอนนำเข้า เมื่อเสร็จแล้วเราบันทึกไว้ทุกครั้ง เมื่อนำเข้าในครั้งถัดไปสามารถเลือกใช้ได้ ว่าจะเลือกข้อกำหนดการนำเข้าในรูปแบบใด

การใช้ Imports Specificaton

วิธีการในการใช้คำสั่ง 

  1. ในหน้า  Home tab,
  2. คลิก  Import > Saved Specifications

หน้าต่างของ  Import Specifications 

ในหน้าต่าง import specification  ในกรณีที่เรายังไม่เลือกชื่อของ import Specifications

ในด้านซ้ายมือจะมีกรอบหน้าต่างเล็กๆๆ พร้อมเมนูเป็นแถบสีฟ้า จำนวน 3 กรอบ (ในภาพจับภาพแค่ 2 กรอบ เพราะเรายังไม่ได้คลิกเลือกชื่อของ Import Specifications ) แต่หากเราคลิกเลือกชื่อในกรอบด้านขวามือ จะปรากฏกรอบด้านซ้ายมือจำนวน 3 panal ได้แก่

  • Imports Tasks คือการจัดการเกี่ยวกับนำเข้า
  • Specifications Tasks  การใช้คำสั่งเพื่อจัดการกับไฟล์ Import Specification  เช่นแก้ไข เปลี่ยนชื่อ ทำซ้ำ ให้แสดงว่าไฟล์ดังกล่าวเก็บไว้ตรงไหน  ลบตัวที่ไม่ต้องการออก
  • Other Tasks  คือ เกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของ Imports specifications   

หลักในการทำงานในกรณีที่เราเลือก Import Specifications แล้ว

ยกตัวอย่าง เมื่อเราคลิกเลือก Import Specifications  ชื่อ Add duration ตามภาพด้านล่างคือหมายเลข 1

ให้ดูในหมายเลข 2 จะมีตัวเลือกจำนวน 3 คำสั่งหรือ 3 รายการ

  • หากเราต้องการนำเข้าข้อมูลจากที่เรากำหนดไว้เพื่อนำเข้าข้อมูลจากที่เก็บที่เดียวกัน เหมือนกับที่เคยนำเข้าครั้งหลังสุด ให้เลือก select Import with selected specification & last file. ในกรอบ Importing Tasks pane,
  • ในกรณีที่เราต้องการนำเข้าจากข้อกำหนดรูปแบบการนำเข้า และรูปแบบการนำเข้าเหมือนกับที่เรานำเข้าครั้งหลังสุดให้เลือก  Import with selected specification ในกรอบ Importing Tasks pane, จากนั้นหน้าต่าง Select Data File to Import จะเปิดขึ้นมา ให้หาไฟล์ที่เราต้องการจะนำเข้า แล้วเลือก เพื่อนำเข้าต่อไป

เมนู Specifications Tasks

ให้ดูในภาพข้างบน เมนู Specifications Tasks  คือส่วนหมายเลข 3 ประกอบไปด้วยคำสั่งดังนี้ (เมนูนี้จะปรากฏขึ้นต้องเลือกชื่อของรูปแบบที่จะนำเข้าก่อนทุกครั้ง)

  • Edit    ใช้ในกรณีข้อมูลตัวใหม่ที่จะนำเข้า มีส่วนแตกต่างกันไม่มาก เพื่อแก้ไขบางส่วน   สำหรับการบันทึกเป็นชื่อเดิมหรือชื่อใหม่ก็ได้ เมื่อเลือกขั้นตอนนี้ จะเข้าสู่หน้า Define Columns มีตัวเลือก 2 แบบคือ Select Data file กับ use Clipboard  แล้วแต่ว่าจะเลือกแบบไหน
  • Rename คือการเปลี่ยนชื่อของ Imports Specifications
  • Duplicate คือการทำซ้ำ ส่วนมาก คือข้อมูลคล้ายกันบางส่วน ก็มาทำซ้ำอันใหม่ แล้วเปลี่ยนซื้อ ไม่ต้องนำเข้าอีก หน้าไฟล์ชื่อจะปรากฎ ว่า “Copy of “.
  • Show specification in Explorer คือให้มันโชว์ที่เราเก็บที่เราบันทึก Imports specification ไว้
  • Delete 

เมนู Other Tasks 

ใช้สำหรับเปลี่ยนที่ตั้งที่เก็บไฟล์ Imports  specification  

  • Change Workgroup Folder เปลียนที่ตั้งกรณี กำหนดรูปแบบการนำเข้าอยู่ใน Workgroup 
  • Change local Folder              เปลียนที่ตั้งกรณี กำหนดรูปแบบการนำเข้าอยู่ใน Local

การบันทึก  Imports specifications

การบันทึก  Imports specifications สามารถบันทึกได้หลายขั้นตอน แล้วแต่ว่า เราต้องการบันทึกในขั้นตอนไหน หน้าต่างในการบันทึกจะโชว์ดังภาพ เราสามารถกำหนดได้ดังนี้  

  • Name คือชื่อที่เราจะบันทึก
  • Location คือเราจะบันทึกเก็บไว้ในประเภทไหน โดยจะแบ่งได้ สองประเภทคือ WorkGroup กับ Local

ส่วนมากจะบันทึกไว้ใน local เพราะใช้ทำงานคนเดียวหากทำงานเป็นทีมก็อาจจะบันทึกไว้ใน Workgroup

สถานที่ในการเก็บบันทีก หากเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ตั้ง ส่วนมาจะอยู่ในเส้นทาง C:\Users\Name\Documents\i2\i2 Analyst’s Notebook \Import Specifications   โดยจะเป็นนามสกุล .ximp

โปรแกรมจะสร้างตัวอย่างมาให้แล้ว พร้อมไฟล์ตัวอย่าง  อยู่ใน C:\Users\Name \AppData\Local\i2\i2 Analyst’s Notebook \en-US\Example Material\Importing\Specifications

การทำงานผ่าน Imports pane

Imports pane คือหน้าต่างกรอบเล็กๆๆ ที่จะโชว์ด้านขวามือ ตำแหน่งเดียวกับ Insert from Pallette 

เมื่อคลิกเลือกคำสั่งดังกล่าว จะเห็นว่ามีคำสั่งรูปแบบเหมือนกับที่เราใช้งานผ่านวิธีการที่ผ่านมา แต่เครื่องมืออาจจะน้อยไปนิด ใช้ได้ในกรณีเร่งด่วน หรือไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือมาก

เช่นเดียวกัน หากเรายังไม่เลือกตัวรูปแบบการนำเข้า คำสั่งบางคำสั่งจะไม่โชว์เพื่อคลิกใช้งานได้

เมื่อเราคลิกเลือกรูปแบบการนำเข้าจะเห็นว่า คำสั่งต่างๆๆ จะเหมือนกับที่อธิบายที่ผ่านมาในเรื่อง Import Specifications มี

  • Import wint selected specifications  
  • Import with selected specifications & last file  เช่นกัน จะมีตัวเลือก 
    • Watch Import
    • Import from Clipboard
  •  new specifications     
  • Edit Selected  specifications   

สรุป

การนำเข้าข้อมูลด้วยการที่เรากำหนดเอง เป็นการเริ่มต้นการทำงานที่ค่อนข้างจะใช้งานได้สะดวกและเร็วมากในการทำงาน เพราะเราสามารพลิกแพลงให้ตรงกับงานที่เราต้องการได้

อย่างเช่น ในกรณีที่เรานำเข้าครั้งแรกแล้วเราบันทึกไว้ ต่อมาเมื่อเราพบกับข้อมูลที่มีโครงสร้างของข้อมูลเหมือนกัน เช่นหัวคอลัมภ์เหมือนกัน หรือที่เก็บข้อมูลอยู่ในที่เดียวกัน เราสามารถเลือกตัวเลือกได้เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงาน

หรือแม้แต่ว่า บางทีเราจะสร้างตัวกำหนดการนำเข้าใหม่หรือแก้ไขในเรื่องเล็กๆๆ น้อยก็สามารถทำได้ทันที แต่เท่าที่สังเกตุดูส่วนมากมักจะติดนิสัยจากการนำเข้าจากแหล่งข้อมูล ซึ่งเราจำเป็นต้องมาสร้างใหม่ทุกเครั้ง หากข้อมูลที่เรากำลังจะนำเข้า กับรูปแบบการนำเข้าที่เราเคยกำหนดแล้วบันทึกไว้ไม่ตรงกัน

แต่ หากกรณีเป็นการนำเข้าจากรูปแบบการนำเข้าที่เรากำหนดไว้แล้วโดยตรง ตามบทความนี้ เราสามารถพลิกแพลงแก้ไข รวมถึงการดำเนินการต่างๆๆ ได้เร็วขึ้น

แนะนำว่าให้ทำความเข้าใจให้ดี แล้วงานของเราจะเร็วขึ้น

อ้างอิงจาก https://docs.i2group.com/anb/9.4.1/import_selected.html

Tags:  , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *