Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

คำสั่ง Find text ในโปรแกรม i2

การวิเคราะห์ที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งใน Notebook  Analyst คือการค้นหาคำหรือวลีเฉพาะ ในข้อมูลของรายการ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถค้นหารายการในชาร์ตทั้งหมด ที่มีชื่อถนนหรือหมายเลขโทรศัพท์เฉพาะได้

การใช้คำสั่ง Find text ในโปรแกรม i2

  1. Click the Analyze tab,
  2. and then in the Find Items group, click Find Text.
    Tip: อีกทางเลือกหนึ่ง สามารถใช้ keyboard shortcut: Press Ctrl+F.

วิธีการค้นหาและเงื่อนไข

อ้างอิงตามภาพ หน้าต่างสำหรับการค้นหาข้อความ ที่เราต้องการ

เงื่อนไขในการค้นหา สามารถกำหนดได้ตามหัวข้อที่มีการแบ่งออกเป็น หัวข้อ ได้แก่

Serach Option   ประกอบไปด้วย

  •  Find  จะมีกล่องข้อความ สำหรับใช้พิมพ์คำที่เราต้องการค้นหา  และ จะมีเงื่อนไขให้เราเลือก
    • Complex Searching  หากคลิกเลือกตัวนี้ จะเป็นการค้นหาโดยใช้ wildcards หรือa regular expression.
    • Find Items Not Matching  ค้นหารายการที่ตรงกันข้ามกับข้อความที่เราพิมพ์ค้นหา
    • Search Cards  คือการเปิดการค้นหาใน  card  ตามคุณสมบัติที่่เราคลิกเลือกในช่อง  Coverage   โดยปกติค่านี้จะเป็นที่ถูกเลือกโดยเป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม

Coverage .  ตัวเลือกว่าการค้นหาครอบคลุมถึงคุณสมบัติอะไรบ้าง มันเกี่ยวเนื่องกับความเร็วในการค้นหา ให้เราคลิกเพื่อเลือกว่าต้องการให้ค้นอะไรบ้าง

Search Area   กำหนดรายการที่ต้องการค้นหาและแสดงผลออกมา

  • Entities and Links หากเลือกตัวนี้ มันจะค้นหาในคุณสมบัติทั้งของ Entity และ Link
  • Entities หากเลือกตัวนี้ จะค้นหาเฉพาะในคุณสมบัติของ Entity
  • Links หากเลือกตัวนี้ จะค้นหาเฉพาะ Links
  • Reveal Hidden  หากคลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้  จะค้นหาในส่วนที่ซ่อนไว้ด้วย
  • Selection Only หากเลือกตัวนี้ มันจะค้นหาเฉพาะในส่วนที่เราเลือกให้เป็นแถบสีเท่านั้น ตัวนี้ หากเราไม่เลือกให้แสดงแถบสีไว้ในชาร์ตก่อน เงื่อนไขนี้ จะไม่สามารถคลิกเลือกได้

Action area  เป็นเงื่อนไขที่เราสามารถกำหนดได้ว่า เมื่อเจอข้อมูลที่เราต้องการแล้วจะให้ มีการแสดงผลหรือการกระทำอย่างไร

  • Edit First   จะเปิดหน้าต่างแก้ไขคุณสมบัติตัวแรกที่ค้นเจอ เมื่อต้องการจะดูรายการต่อไปให้กด F3 เพื่อดูรายการต่อไป
  • Select First  เมื่อค้นหาเจอ จะเลือกตัวแรกที่เจอมาแสดงให้เห็น โดยจะแสดงแถบสีน้ำเงินขึ้นมา แต่จะไม่เปิดหน้าต่างแก้ไขคุณสมบัติ เช่นกัน  หากต้องการค้นตัวต่อไปให้กด  F3 to find the next matching item.
  • Select All   หากเลือกตัวนี้ จะแสดงผลทั้งหมดออกมาให้เราเห็น

สรุป

จะเห็นว่าเราสามารถกำหนดเงือนไขได้มาก แต่ในการใช้งานจริงๆ ส่วนมากใช้ไม่กี่ตัว และคิดว่าไม่น่าจะยากเท่าไหร ส่วนมากแล้วเราใช้ค้นหาอย่างเดียว บางเงื่อนไขมันจะเกี่ยวเนื่องกับการเลือก Entity หรือ Link ก่อน หากไม่เลือกก่อนเงือนไขดังกล่าวจะไม่สามารถเลือกได้

การอธิบายบางที หากลงรายละเอียดหมด อาจจะยาวมากเกินไป สร้างความสับสน ทางที่ดีแนะนำว่าให้ลองค้นหาและใชเงื่อนไขแต่ละตัวว่ามีผลแตกต่างกันอย่างไร โดยแยกออกเป็น การค้นว่าเราจะพิมพ์อะไรในการค้น ต่อมาเลือกในส่วนที่เราต้องการจะค้น แล้ว หากเจอเราต้องการให้มีการดำเนินการต่ออย่างไร 

และเพิ่มเติม แนะนำว่าให้ทดลองแล้วจดไว้หรือสร้างเป็นบทความรู้ของตัวเอง แล้วจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

Tags:  , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *