Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Analyst’s Notebook data

Analyst’s Notebook data เป็นหลักการทำงานของโปรแกรม Analyst’s Notebook  คือการสร้างภาพให้แสดงผลแผ่นชาร์ตบนโปรแกรม  ชาร์ตหรือภาพนี้ ได้มาจากการแปลงจากข้อมูลที่เราอาจจะเขียนเอง หรือโดยการนำเข้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆๆ ได้หลายทางมาก   ภายในข้อมูลของโปรแกรม จะเก็บข้อมูลไว้ในรูปแบบเป็น Entities, links และ Properties

Entities เป็นรายการที่แสดงบนชาร์ตในโปรแกรม เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของวัตถุบนโลกนี้ เช่น คน สถานที่ บัญชีธนาคาร แม้แต่เหตุการณ์ เช่น มีการพบปะกัน โดยมี links แสดงความสำพันธ์ระหว่าง Entities  ดังนั้น เราจะเห็นว่า   ในชาร์ตแต่ละชาร์ตเราต้อง ต้องกำหนด Entity 2 Entity  เพราะโปรแกรมจะยึดหลักรูปแบบของ ดัมเบล  คือมีตุ้มยกลูกน้ำหนักสองข้าง ลูกตุ้มแต่ละข้างนั้น จะแทนความหมายคือ Entity และมีด้ามของดัมเบล เปรียบเสมือน Link  ยกตัวอย่างเช่น

  • ความสำพันธ์ระหว่างบุคคล
  • การแสดงความเป็นเจ้าของ
  • การทำธุรกรรมระหว่างธนาคาร
  • หรือเป็นการพบปะกันระหว่างบุคคล

และต้องทำความเข้าใจด้วยเพิ่มเติมว่าในการใช้งานโปรแกรม   entities and links    เรียกรวมกันว่า Item หรือรายการ  ดังนั้น หากเรียกว่า Item นั้นหมายถึงว่า เรากล่าวถึง entities and links

Entities เปรียบง่ายๆๆ ที่สุดคือมันเป็น คำนาม คือแทนค่าคน สัตว์ สิ่งของ

Links คือ เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความสำพันธ์กันระหว่าง Entities (คิดง่าย ให้นึกถึงคำกริยา คือการแสดงอาการ กริยาต่าง) เช่น การติดต่อกันระหว่างคนสองคน การชี้บอกว่าเป็นเจ้าของเช่น เป็นเจ้าของรถยนต์ เจ้าของมือถือ รวมถึงการทำธุรกรรมระหว่างบัญชีธนาคาร หรือการพบปะระหว่างบุคคล

Properties ถ้าแปลเป็นไทยเรียกว่า คุณสมบัติ มันใช้สำหรับเก็บข้อมูลของรายการหรือ Item  เช่น วันเดือนที่มีการนัดพบกัน การกำหนดคุณสมบัติของรายการนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญในการคิดหรือวางแผนว่า เราจะเก็บแต่ละส่วนของข้อมูลเอาไว้ที่ไหนของรายการ  มันจะมีผลกระทบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภายหลัง หรือการนำเสนอบนชาร์ต หากเราวางแผน หรือกำหนดไว้ไม่ดี อาจจะมีปัญหาได้ ยกตัวอย่าง เราอาจจะเลือกเก็บข้อมูล เช่น วันเดือนปีเกิดของคน หรือประเภทของรถยนต์ ไว้ใน Attribute  แทนที่จะวางไว้ในส่วนอื่น  หลังจากนั้น ข้อมูลในส่วนนี้ จะไปแสดงผลบนชาร์ต และใช้มันสำหรับวิเคราะห์ได้

มาดูรายละเอียดตามภาพข้างล่าง จะมีส่วนประกอบอยู่คือ

  • Entity
  • link
  • preparties
  • Attributes

ในภาพจะมี Entity แทนค่าของบัญชีธนาคาร และคนที่เป็นผู้หญิง ที่จริงแล้วต้องแสดงความสำพันธ์กันว่า เป็นเจ้าของบัญชี น่าจะถูกต้องกว่า แต่ในภาพแค่บอกว่าแสดงความสำพันธ์กัน โดยใช้ link หรือเส้นแสดงความสัมพันธ์กัน ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องเพราะใน link เขียนว่า Associate แต่จับภาพมาแล้วขี้เกียจเปลี่ยนภาพใหม่ เลยขอเอาเป็นภาพนี้ อธิบายให้เห็น

ส่วนหน้าต่างนั้นคือค่าคุณสมบัติชอง Entity และ Link หากเราดับเบิลคลิกตัวไหน หน้าต่างจะโชว์ขึ้นมาเพื่อให้เรากำหนดคุณสมบัติหรือแก้ไขคุณสมบัติ อย่างในภาพได้ดับเบิลคลิก Entity ที่เป็นประเภทผู้หญิง ก็จะโชว์หน้าต่างขึ้นมาว่า Edit Icon “Female 1”

นอกจากนี้ แล้วภายในหน้าต่างมีรายการคุณสมบัติอีกตัวที่เรียกว่า Attribute ตัวนี้ จะไม่มีค่ามาให้เราต้องแก้ไข แต่เราต้องสร้างหรือกำหนดขึ้นมาเอง

Entities

Entity   เป็นตัวแทนค่าของวัตถุ  บนโลกของเรา เช่น คน สถานที่ บัญชีธนาคาร รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆ เช่นการพบปะ หรือประชุมกัน
แต่ละ Entities จะมีการกำหนดตัวแทนที่ให้แสดงผลบนชาร์ตว่าให้แสดงผลอย่างไร กับ การแบ่งชนิดของ Entities เป็นกลุ่มหรือประเภทของของมัน  ภายในตัว Entity จะมีคุณสมบัติ ซึ่งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุหรือเหตุการณ์ไว้ เช่น คนต้องมีชื่อ วันเดือนปีเกิด ลักษณะของนัยตา  หรือในกรณีของเหตุการณ์ เช่นมีการประชุมกัน อาจจะมีวันเวลา สถานที่และห้วงเวลา เข้ามาเกี่ยวข้อง ที่เราจำเป็นต้องกำหนดไว้ในคุณสมบัติของ Entity

ตัวแทนการแสดงของ Entity เราสามารถเลือกการแสดงผลบนชาร์ตของเรา โดยการใช้ตัวแทนการแสดงของ Entities ให้แตกต่างกันได้ เช่น  icon, event frame, หรือ theme lineความแตกต่างของรูปแบบการแสดงผลของ entity

Icon   เป็นรูปภาพ
Theme lineใช้เส้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการจัดเรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามห้วงเวลาที่เกิดขึ้น
Event frameกรณีที่ต้องการเน้น ว่า วันเวลานั้นมีเหตุการณ์สำคัญอย่างไร เช่นมีการนัดพบกัน
Circleส่วนมากใช้เพื่อระบุ แบ่งกลุ่ม หรือเน้นเป้าหมายเพื่อดูให้ชัด เช่น ใช้วงกลม Entity หลายตัว
Boxอันนี้ ก็เช่นกัน แต่เป็นรูปสีเหลี่ยม อาจจะใช้เพื่อเป็นแผนภูมิได้
Text blockสำหรับพิมพ์ข้อมูล เพื่ออธิบายเพิ่มได้
OLE objectสร้างนำเข้าเกี่ยวกับพวก spreadsheet, word-processor document, video clip, or graphic file

ประเภทของ Entity

แต่ละประเภทของ Entity  มีการจัดออกแบ่งเป็นหมวดหมู่ ยกตัวอย่างเช่น  คน บัญชีธนาคาร การพบปะกัน หรือยานพาหนะ  การจัดหมวดหมู่ของชนิด Entity จะมีประโยชน์มากในขั้นตอนการค้นหาหรือการวิเคราะห์ มันจะทำให้เราทำงานได้ดี และเร็วมีประสิทธิภาพ

โดยปกติโปรแกรมจะสร้างจัดชุดประเภทของ Entity มาให้เรียบร้อยแล้ว ตามที่เรากำหนดหรือเลือก Template แต่ หากกรณีที่เราต้องการปรับแต่งเองก็สามารถได้ ประเภทของ  Entity มีการกำหนดคุณลักษณะที่กำหนดชนิดของมันแล้ว เช่น ภาพของไอคอนและชื่อ

คุณลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างประเภทของ Entity

CHARACTERISTIC       DESCRIPTION
Iconรูปแบบที่ใช้แสดงบนชาร์ต เมื่อ Entity กำหนดตัวแทนเป็น Icon, theme line หรือแม้แต่ Event frame
Name ชื่อที่ใช้ระบุประเภทของ entity
Line color ใช้สำหรับ กำหนดสีเส้นขอบของ Entity
Shade colorการกำหนดสีให้กับ entity
Semantic typeการจัดแบ่งประเภท ที่กำหนดความหมายจริงของข้อมูล
User palettes The palettes that contain the entity type

นำเสนอให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันของ 2 entities เช่น คนเป็นเจ้าของรถ หรือการโอนเงินระหว่าง 2 บัญชีธนาคาร โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อม ตามรูปแบบดัมเบล เช่นกัน ในที่นี้ ตัวด้ามเปรียบเสมือน Link เพราะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างลูกตุ้มยกน้ำหนัก ทั้งสองตัว และมันจะแสดงบนชาร์ต โดยใช้เส้นเชื่อมต่อระหว่าง Entity

คิดง่าย ให้นึกถึงคำกริยา คือการแสดงอาการ กริยาต่างๆ

การกำหนดรูปแบบของ Link ที่แสดงบนชาร์ต โดยใช้เส้นเชื่อมต่อระหว่าง Entities เพื่อแสดงความสำพันธ์กันนั้น สามารถกำหนดรูปแบบได้ ดังนี้

  • การกำหนดหัวลูกศร  ที่แสดงความสัมพันธ์ของ Entities อาจจะใช้หัวลูกศร หรือไม่ใช้ก็ได้ ขึ้นกับความสำพันธ์ เช่นการโอนเงิน อาจจะใช้หัวลูกศรชี้เส้นทางการโอน การติดต่อกัน อาจจะใช้ลูกศรชี้ไปกลับ หรือกรณีเป็นเจ้าของหรือสามี ภรรยา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หัวลูกศร ก็ได้ ไม่มีหลักตายตัวว่าจะต้องมีหรือไม่มีหัวลูกศร ทุกครั้ง
  • แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล
    • เส้นทีบ (solid line) ข้อมูลนั้นได้รับการยืนยันหรือรับรองได้ว่า มีหลักฐานแน่น (confirmed)
    • เส้นประ (dashed line) ข้อมูลนั้นยังไม่แน่นอน (unconfirmed)
    • เส้นไข่ปลา (dotted line) ข้อมูลนั้น แค่สันนิฐาน หรือแค่ความน่าจะเป็นไป
  • จำนวนเส้นที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 Entities
    • single เส้นเดียว คือรวมข้อมูลทุกอย่างในเส้นเดียว
    • direction สองเส้นไป สองเส้นกลับ รวม 4 เส้น
    • multiplicity จำนวนเส้นไม่จำกัด แล้วแต่การเชื่อมต่อระหว่างกัน ของแต่ละครั้ง

เกี่ยวกับคุณสมบัติของ Link  แต่ละ link จะมีคุณสมบัติที่เก็บภายในตัวของมันเองเช่นกัน ยกตัวอย่าง การทำธุรกรรมระหว่างสองบัญชี เส้นทีเชื่อมต่อระหว่างบัญชี อาจจะมีการกำหนดค่าคุณสมบัติของมันไว้ เช่น จำนวนเงินที่มีการทำธุรกรรม รวมทั้งวันเวลาที่ทำธุรกรรม

เพราะฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจหรือแยกแยะให้ออกระหว่างรูปแบบของ Link กับคุณสมบัติของ Link เมื่อนำไปใช้งาน จะได้กำหนดได้อย่างถูกต้อง

Properties

Entity และ Links มีคุณสมบัติที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ Entity และ link ดังนั้นการเลือกประเภทของคุณสมบัติที่จัดเก็บ ก็เป็นส่วนสำคัญมากเช่นกัน เพราะมันจะเกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลของชาร์ต และรวมถึงขั้นตอนการวิเคราะห์

เกี่ยวกับคุณสมบัติของรายการชาร์ต สามารถอธิบายได้ดังดนี้

  • ข้อมูลที่สามารถรู้เกี่ยวกับรายการในชาร์ต เช่น  label and description  คือป้ายชื่อและคำอธิบาย
  • รายละเอียดของที่มาเช่นความน่าเชื่อถือของข้อมูลในชาร์ต รวมทั้งการแยกข้อมูลแต่ละชิ้น
  • การตั้งค่าเกี่ยวกับการแสดงผลบนชาร์ต ที่เราสามารถกำหนดให้แสดงได้ เช่น สี หรือส่วนต่างๆๆ ที่ต้องการให้แสดงให้เห็น

แต่ ส่วนที่สำคัญต้องทำความเข้าใจ  คือค่าที่แสดงผลบนชาร์ตของรายการ คือ Label และภายในคุณสมบัติของรายการ จะประกอบไปด้วย (ขออธิบายเฉพาะที่ใช้บ่อย)

  • Identities
  • Style
  • Attributes
  • Semantic types

ข้อแตกต่างระหว่าง Attribute กับ Properties

  • Properties มันจะอธิบายหรือบอกถึงคุณลักษณะของ Obicet ในที่นี้ คือ chart,Item ในการกำหนดคุณสมบัติในโปรแกรม I2 แยกออกเป็น 2 ส่วน คือคุณสมบัติของชาร์ต กับคุณสมบัติของรายการ (พวก Entity กับ Link) ตามที่ได้อธิบายในบทความนี้ ส่วน คุณสมบัติของชาร์ต เพื่อไม่ให้สับสนจะแยกอธิบายอีกที
  • สรุป Peperties คือคุณสมบัติที่โปรแกรมกำหนดมาให้แล้วเบื้องต้น เราแค่เข้าไปแก้ไขให้เป็นไปตามที่ต้องการ
  • Arttribute คือมันเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลของคุณลักษณะของ object
  • สรุป Arttibute คือเราต้องกำหนดเพิ่มลงไปเอง ว่าต้องการอะไรอย่างไร ไม่ว่าทั้งการเขียนชาร์ตหรือการนำเข้า

 มาจากเว็บไซต์นี้

  • Attributes are refering to additional information of an object.
  • Properties are describing the characteristics of an object.

Most people use these two words as synonyms.

วิธีสร้างชาร์ต และการจัดการข้อมูล

ในการสร้างชาร์ตบนโปรแกรม I2 เป็นส่วนที่ก่อนสร้างเราต้องตัดสินใจให้ดีถึงรูปแบบในการนำเข้าและการจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในคุณสมบัติของรายการ เพราะมันจะเกี่ยวโยงกับการนำเสนอ และขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล

Entities or properties

ในกรณีที่เราต้องการจะใส่ข้อมูลในชาร์ตของเราบนโปรแกรม I2  เราต้องตัดสินใจให้ดีว่า ในการสร้าง Entities  ที่เราสร้างและข้อมูลที่เราได้มา เราควรสร้างเป็น Entity เดียวหรือหลาย Entity  ยกตัวอย่างเรามีข้อมูลเกี่ยวกับคนดังนี้

  • ชื่อ
  • วันเดือนปีเกิด
  • สัญชาต
  • สถานที่
  • รายละเอียดบัญชีธนาคาร
  • ชื่อสถานที่ทำงาน

ลองมาใล่ดูว่า เมื่อเราได้ข้อมูลแบบนั้นมาควรจะใส่ข้อมูล ให้ Entity มีลักษณะใด

  • ชื่อ วันเดือนปีเกิด  สัญชาติ  เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคล   ดังนั้น เราสามารถกำหนดการเก็บข้อมูลไว้ในคุณสมบัติของ Entity เพื่อแสดงข้อมูลของบุคคลได้
  • สถานที่  ในโลกแห่งความเป็นจริง ในสถานที่เดียวกัน อาจจะมีคนอยู่หลายคนในบ้านหลังเดียวกัน  ดังนั้นในการสร้าง Entity ของสถานที่ เราควรจะเพิ่มลงไปในชาร์ตแค่อันเดียว แต่ในทางกลับกันให้เราทำหรือสร้าง Link ให้เห็นถึงความสำพันธ์ของบุคคล โดยการสร้าง Entity ของแต่ละคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น มันจะช่วยลดไม่ให้เกิดขัอมูลที่ซ้ำกัน และช่วยในการลดความผิดพลาดในการพิมพ์ได้
  • บัญชีธนาคาร เช่นกัน คนหนึ่งคน อาจจะมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี ดังนั้นในการสร้าง Entity เกี่ยวกับบัญชีธนาคาร สิ่งที่น่าจะทำคือ สร้าง Entity ของบัญชีธนาคารตามจำนวนบัญชีที่มีอยู่  หลังจากนั้น ไปสร้าง Entity ของคน และสร้างความเชื่อมต่อระหว่าง คนกับบัญชีธนาคารแต่ละธนาคาร  มันจะมีประโยชน์ตรงที่เราสามารถสร้างการเชื่อมต่อระหว่างบัญชีธนาคาร เพื่อนำเสนอการทำธุรกรรมระหว่างธนาคาร ดีกว่า เราสร้างเจ้าของบัญชีธนาคาร แล้วแสดงความเชื่อมต่อระหว่างเจ้าของบัญชีธนาคาร ด้วยกัน  มันจะช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น เพราะส่วนมากเดี่ยวนี้ คนหนึ่งคน อาจจะมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี  หากเราสร้างแยกบัญชี และโยงไปยังเจ้าของ ในขณะเดียวกันในการสร้างความเชื่อมต่อก็ให้แสดงการทำธุรกรรมระหว่างบัญชีแทน การทำงานการวิเคราะห์จะสะดวกขึ้น
  • ชื่อสถานที่ทำงาน หรือองค์กร เช่นกัน  ในการสร้าง Entity ขององค์กร แนะนำว่า ให้สร้างหลายๆๆ Entity แล้วค่อย สร้าง Entity ของคน แล้วสร้างความสำพันธ์ของคนกับสถานที่ทำงาน บางคนอาจจะทำงานหลายที่ก็โยงไปแต่ละองค์กรหรือสถานทีทำงานได้ มันจะมีประโยชน์ ตรงที่ว่า หากเราสร้างแบบนี้ เราสามารถจะรู้ได้ทันทีว่าคนในชาร์ต ส่วนมากทำงานที่ไหนอย่างไร
Tags:  , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *