Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

พื้นฐานโปรแกรม i2

พื้นฐานโปรแกรม i2 เป็นส่วนที่อาจจะอธิบายซ้ำซ้อนกับบางบทความ แต่อยากจะเน้น เพราะเป็นส่วนที่สำคัญสำคัญที่สุด หากเราไม่เข้าใจพื้นฐานได้ดีพอ อาจจะมีปัญหาได้เมื่อเราต้องการวิเคราะห์หรือนำเสนอ โดยเฉพาะในขั้นตอนการนำเข้า เพื่อก้าวสู่ไปยังขั้นตอนวิเคราห์ หากเราจะไม่เข้าใจโครงสร้างการทำงาน ทำตามแตที่คนอื่นแนะนำทุกอย่าง เหมือนกับว่ามันเป็นบรรทัดฐานที่เราต้องทำแบบเดิมทุกครั้ง เมื่อเราเจอประเด็นต่างๆๆ ที่อยากพลิกแพลงเราจะไม่สามารถดำเนินการตามใจที่เราต้องการได้ โดยเฉพาะหากเรานำไปใช้งานในการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนที่เราต้องเข้าใจโครงสร้าง การจัดวางแนวทางว่า เราจะวิเคราะห์อะไร อย่างไร มันต้องเริ่มต้นตั้งแต่เราสร้างชาร์ตหรือนำเข้าก่อน และส่วนมากมาจากพื้นฐานในบทความนี้

1.Core หรือแก่นหลักของโปรแกรมI2

เคยอ่านเจอในคู่มือ ในส่วนนี้เขาอธิบายถึงแนวคิดโครงสร้างของ I2 หรือเรียกว่าเป็นแกนก็ได้  ในคู่มืออธิบายว่า ลักษณะการทำงานของการนำเสนอข้อมูล เขาเปรียบเทียบกับตัวยกน้ำหนัก (barbel) หรือบ้านเราเรียกว่า ดัมเบล หมายความว่า จะต้องมีลูกตุ้ม 2 ลูก และมีด้ามไว้สำหรับยึดลูกตุ้ม    ลูกตุ้มแต่ละข้างเขาให้ความหมายถึง Entity   ส่วนด้าม เขาเปรียบเทียบเสมือน Link  นี่เป็น พื้นฐานโปรแกรม i2 แรกที่เราต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะการนำไปใช้งานในกรณีการวิเคราะห์เส้นทางการเงิน หรือในกรณีที่มีค่าของ Identity ไม่ครบทุกแถว เมื่อเรานำเข้าข้อมูล

Entities ,link,Properties ซึ่งเรียกรวมกันว่า ELP

ประกอบด้วย ส่วนที่สำคัญ คือ 

  • Enitities
  • Links
  • Properties

ความหมายของ ELP คือ

  1. มีคนสองคนติดต่อกัน แต่ละคนแทนค่าด้วย Enitities
  2. การติดต่อกันระหว่างคนสองคน   แทนค่าด้วย Link
  3. รายละเอียดของแต่ละ  Entities ,Links  แทนค่า Properties

  หากเราอ่านคู่มือ เมื่อมีการอ้างอิงถึง Item  จะมีการเรียกรวมกันอ้างอิงถึง Entity ,Link  หากเขียนเป็นภาษาไทยจะเรียกว่า รายการ  จะเห็นว่าในบทความถัดจากนี้ต่อไปมักจะเขียนว่า Item บัาง   รายการบ้าง มันคือความหมายเดียวกัน เช่น ตอนเราเปิดโปรแกรมขึ้นมาครั้งแรก จะปรากฏชาร์ต หรือแผ่นภูมิว่างเปล่าขึ้นมา  ในการสร้างชาร์ต สิ่งแรกที่ต้องเริ่มทำคือ

  1. การเพิ่ม Entity เข้าไปใน ชาร์ตหรือแผ่นภูมิ  จะกี่ตัวก็ได้ตามที่เราต้องการ แต่ต้องเป็นไปตามหลักการของโปรแกรม ที่ได้วางไว้ว่าอยู่ในรูปดัมเบล(ที่ยกน้ำหนัก คือมีลูกตุ้มสองอันและมีด้าม) นั้นหมายความว่าต้องมี Entity 2  ตัว
  2. เพิ่ม Link เข้าไป เพื่อสร้างความเชื่อมต่อระหว่าง Entity ให้เห็นความสำพันธ์กัน

ที่อธิบายมาแล้วทั้ง  2 หัวข้อ นั้นคือการเพิ่ม Item เข้ามายังชาร์ต  หรือการเพิ่มรายการมายังชาร์ต  แล้วแต่จะเรียกแต่ความหมายเดียวกัน เมื่อเพิ่มรายการหรือ Item แล้วต่อมาคือการเพิ่มรายละเอียดคุณสามบัติของรายการดังกล่าวลงไปในตัวของมันเอง  ในส่วนนี้เรียกว่า การเพิ่มคุณสมบัติหรือ Properties

  • การเพิ่มคุณสมบัติ โดยอาจจะเพิ่มให้กับ Entity  หรือ Link หรือทั้งสองรายการก็ได้ตามที่เราต้องการ  ส่วนวิธีการเพิ่ม มีทางเลือกได้ 2 แบบ คือ
  • กรณีเราเขียนชาร์ตเอง กับ กรณีเรานำเข้าข้อมูล ในส่วนนี้ ค่อยศึกษากันไปอีกที

  หลักของโปรแกรมคือการสร้างภาพที่เป็นชาร์ต เพื่ออธิบายแทนข้อมูลที่อาจจะอยู่ในไฟล์เอกสาร หรือไฟล์พวก excel เพื่อใช้ในการสืบสวน  โปรแกรมสามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่ง  มาเก็บไว้เพื่อแสดงบนชาร์ต  ข้อมูลดังกล่าว จะเก็บไว้ ในลักษณะเป็น  entities, links, and properties.  หรือเรียกรวมกันว่า Analyst Notebook data ดังนั้น ในการใช้งานโปรแกรม เราต้องเข้าใจค่าต่างๆๆ พวกนี้ ก่อน

ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจและศึกษา คือต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบหรือโครงสร้างของโปรแกรมว่า ในชาร์ตที่เราต้องการเขียนหรือในกรณีที่เรานำเข้าข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง ประกอบด้วย

2.Entities 

เป็นพื้นฐานโปรแกรม i2 ที่สำคัญอีกอย่าง ที่เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ Entities ความหมายของมันคือ เป็นเสมือนตัวแทนของวัตถุบนโลกนี้ เช่น คน สถานที่ บัญชีธนาคาร แม้แต่เหตุการณ์ เช่น มีการพบปะกัน ในชาร์ตแต่ละชาร์ต ส่วนมากหรือจำเป็น ต้องกำหนด Entity 2 Entity  เพราะโปรแกรมจะยึดหลักรูปแบบของ ดัมเบล  คือมีตุ้มยกลูกน้ำหนักสองข้าง ลูกตุ้มนั้น จะแทนความหมายคือ Entity   เช่น คนแสดงความเป็นเจ้าของรถคนหนึ่ง หากมี Entity คนอย่างเดียว ไม่มี Entity รถ  ความหมายมันก็จะไม่ครบ

Entities เปรียบง่ายๆๆ ที่สุดคือมันเป็น คำนาม คือแทนค่าคน สัตว์ สิ่งของ

นี่คือ Entities ที่เป็นตัวแทนของวัตถุบนโลกจริง

2.1 รูปแบบการแสดงผลของ Entity (Representation)

รูปแบบที่แสดงเป็นตัวแทนนำเสนอ

แต่ละ Entity  จะใช้รูปแบบตัวแทนแสดงผลบนชาร์ต   ตามชนิดประเภทของ entity  อยากให้ทำความเข้าใจความหมายของมัน ในส่วนของความแตกต่างในการนำเสนอรูปแบบที่จะแสดงของ Enity กับ ชนิดของ Entity  เพราะใช้บ่อยและใช้มาก ในขั้นตอนการเขียนชาร์ตไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร แต่ในการนำเข้าข้อมูลเพื่อให้ออกตามประเด็นที่เราต้องการ ค่อนข้างจะใช้มาก หากเราเข้าใจ จะสามารถพลิกแพลงการนำเสนอได้ดี สวย และออกได้ตามที่เราต้องการ

          รูปแบบการแสดงผลของ  Entities  บนชาร์ต สามารถเลือกได้หลายแบบ  ยกตัวอย่าง เช่น icon, even frame, theme line

Icon    เป็นรูปภาพ
Theme line  ใช้เส้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการจัดเรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามห้วงเวลาที่เกิดขึ้น
Event frame กรณีที่ต้องการเน้น ว่า วันเวลานั้นมีเหตุการณ์สำคัญอย่างไร เช่นมีการนัดพบกัน
Circle   ส่วนมากใช้เพื่อระบุ แบ่งกลุ่ม หรือเน้นเป้าหมายเพื่อดูให้ชัด เช่น ใช้วงกลม Entity หลายตัว
Box    อันนี้ ก็เช่นกัน แต่เป็นรูปสีเหลี่ยม อาจจะใช้เพื่อเป็นแผนภูมิได้ 
Text block   สำหรับพิมพ์ข้อมูล เพื่ออธิบายเพิ่มได้
OLE object   สร้าง การนำเข้าเกี่ยวกับพวก spreadsheet, word-processor document, video clip, or graphic file. 
ความแตกต่างของรูปแบบการแสดงผลของ entity

2.2 ประเภทของ Entity (Type)

ประเภทของ Entities

          แต่ละ entity มีการแบ่งตามประเภทของมัน เช่น คน บัญชีธนาคาร การพบปะกัน หรือยานพาหนะ  มันจะช่วยได้มากในการค้นหาและวิเคราห์ข้อมูล

          ชนิดของ Entity คือส่วนที่ถูกกำหนดมาแล้วหรือสร้างมาแล้ว  โดย Template หากเราจะเปลี่ยนหรือปรับแต่งอย่างไร ก็ได้ รายระเอียดเกี่ยวกับชนิกของ entity มีเพิ่มเติมที่หลายอย่าง เช่น ลักษณะที่แสดง ชื่อ สีของเส้น สีของรูปแบบ ชนิดของ Semantic  แต่ไม่ขออธิบายมากนัก กลัวสับสน เพราะเคยสับสนมาาแล้วตอนศึกษาใหม่ กับส่วนมากไม่ค่อยได้ใช้ จะใช้มากก็ในขั้นตอนการ วิเคราะห์ แต่ก็ใช้น้อย  หากอธิบายมาก จะเสียเวลาในส่วนอื่น เอาเป็นว่า ค่อยกลับมาลงลึกแยกรายละเอียดให้อีก

CHARACTERISTIC   DESCRIPTION
Icon รูปแบบที่ใช้แสดงบนชาร์ต เมื่อ Entity กำหนดตัวแทนเป็น Icon, theme line หรือแม้แต่ Event frame
Nameชื่อที่ใช้ระบุประเภทของ entity
Line colorใช้สำหรับ กำหนดสีเส้นขอบของ Entity
Shade colorการกำหนดสีให้กับ entity
Semantic type  การจัดแบ่งประเภท ที่กำหนดความหมายจริงของข้อมูล
User palettes The palettes that contain the entity type. คือสิ่งที่เก็บ ประเภทของ Entity ที่เราสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้

             

หน้าที่ของ Link นำเสนอให้ถึงความเกี่ยวข้องกันของ 2  entities เช่น คนเป็นเจ้าของรถ หรือการโอนเงินระหว่าง 2 บัญชีธนาคาร โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อม ให้เห็นถึงความเกี่ยวของระหว่าง 2 entities   ก็มาตามรูปแบบดัมเบล เช่นกัน ตัวด้ามเปรียบเสมือน Link

 Links   คือ เส้นเป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความสำพันธ์กันระหว่าง Entities  (คิดง่าย ให้นึกถึงคำกริยา คือการแสดงอาการ กริยาต่าง)  เช่น การติดต่อกันระหว่างคนสองคน   การชี้บอกว่าเป็นเจ้าของเช่น เป็นเจ้าของรถยนต์ เจ้าของมือถือ  รวมถึงการทำธุรกรรมระหว่างบัญชีธนาคาร หรือการพบปะระหว่างบุคคล รวมถึงการติดต่ระหว่างกัน

4.properties (คุณสมบัติของ Item)

ที่อธิบายที่ผ่านมาเกี่ยวกับ Entity และ link นั้น แยกออกได้ 2 ส่วน คือ

  • Entity แสดงเป็นตัวแทนของวัตถุบนโลกนี้ เช่นคน สัตว์ สิ่งของ
  • link แสดงให้เห็นความสำพันธ์ระหว่าง Entity ว่าเกี่ยวพันกันอย่างไร มีการกระทำระหว่างกันอย่างไร

ทั้ง Entity และ link เรียกรวมกันว่า Item หรือรายการ ซึ่งเราจะต้องเพิ่มรายการนั้นลงไปยังแผ่นชาร์ตของเรา หรือหากนำเข้าในขั้นตอนหนึ่งจะมีการเพิ่ม รายการดังกล่าวลงไปในชาร์ต ที่เรียกขั้นตอนนั้นว่า Import Design เมื่อเรานำรายการลงไปในชาร์ตแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดคุณสมบัติให้กับรายการดังกล่าว การกำหนดคุณสมบัตินี้ค่าต่างๆๆ ที่เรากำหนดมันจะเก็บไว้ในคุณสมบัติของ Entity แต่ละตัว หรือใน Link แต่ละเส้น แล้วมันจะแสดงผลบนชาร์ต รวมถึงการนำไปวิเคราะห์ต่างๆๆ ดังนั้น หัวใจหลักมันจะอยู่ในขั้นตอนการกำหนดค่าคุณสมบัติ(Properties) นี้

4.1การกำหนดคุณสมบัติของ Entity

การกำหนดคุณสมบัติ (Properties) ให้กับ Entity นั้น ส่วนมากแล้วเรามากจะกำหนด Identity, Label เพราะเป็นส่วนที่แสดงผลบนชาร์ต โดยหลักแล้วส่วนที่แสดงผลเกี่ยวกับ Entity นั้น ค่าที่แสดงผลบนชาร์ตคือ Label ซึ่งเป็นคุณสมบัติตัวหนึ่งของ Entity แม้ว่าเราจะไม่ได้กำหนด Label ไว้ แต่ยังมีค่าของ Identity อยู่ label จะเอาค่าของ Identity มาแแสดงแทน ยกเว้น เรากำหนดค่าให้ Identity แตกต่างกับ Label ถึงตอนนั้น Label จะเอาค่าที่เรากำหนดให้กับมันมาแสดงผลบนชาร์ต ส่วนค่า Identity จะซ่อนไว้ใม่แสดง ยกเว้น ในกรณีนำเข้าข้อมูลเราสามารถกำหนดได้ว่า ให้แสดงคู่กับ Label ได้

หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขคุณสมบัติของ Entity ในกรณีนำเเข้านำเข้ามูล

Link ไม่มี identity มีแต่ label แต่ค่าอื่นๆๆ ดังนั้นในการกำหนดคุณสมบัติจะมีค่าต่างๆๆ มากมากให้เรากำหนด แต่ต้องแยกให้ออก ว่า ส่วนที่แสดงผลบนชาร์ตคือ Label เช่นกัน แต่คุณสมบัติบัติอื่นก็มีส่วนประกอบที่ต้องเกี่ยวเนื่องกัน ยกตัวอย่าง

4.2.1การกำหนดหัวลูกศร

Enities  ที่มีความสัมพันธ์กัน  อาจจะใช้หัวลูกศร หรือไม่ใช้ก็ได้ ขึ้นกับความสำพันธ์   เช่นการโอนเงิน อาจจะใช้หัวลูกศรชี้เส้นทางการโอน  การติดต่อกัน อาจจะใช้ลูกศรชี้ไปกลับ หรือกรณีเป็นเจ้าของหรือสามี ภรรยา ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หัวลูกศร ก็ได้ ไม่มีหลักตายตัวว่าจะต้องมีหรือไม่มีหัวลูกศร ทุกครั้ง 

การเลือกหัวลูกศร การแบ่งระดับความหน้าเชื่อถือ

4.2.2 แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล

  • เส้นทีบ (solid line)   ข้อมูลนั้นได้รับการยืนยันหรือรับรองได้ว่า มีหลักฐานแน่น  (confirmed)
  • เส้นประ (dashed line)  ข้อมูลนั้นยังไม่แน่นอน  (unconfirmed)
  • เส้นไข่ปลา  (dotted line)  ข้อมูลนั้น แค่สันนิฐาน  หรือแค่ความน่าจะเป็นไป

4.2.3จำนวนเส้นที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 Entities

  • single    เส้นเดียว คือรวมข้อมูลทุกอย่างในเส้นเดียว
  • direction  สองเส้นไป  สองเส้นกลับ  รวม 4 เส้น 
  • multiplicity  จำนวนเส้นไม่จำกัด แล้วแต่การเชื่อมต่อระหว่างกัน ของแต่ละครั้ง
การกำหนดจำนวนเส้น

ตามที่ยกตัวอย่าง แค่เบื้องต้นในการกำหนดคุณสมบัติ ยังมีรายละเอียดต่างๆๆ อีกมา รวมถึงการกำหนดค่า Attributes ซึ่งเป็นคุณสมบัติอีกตัว แต่เราต้องสร้างขึ้นมาเอง โปรแกรมไม่ได้สร้างค่าเบื้องต้นมาให้

กรณีต้องการแก้ไขคุณสมบัติของ Link ในขั้นตอนการนำเข้า

5.Chart Properties (คุณสมบัติของ chart)

เป็นส่วนที่เราสามารถกำหนดค่าต่างๆๆ เพิ่มเติมได้นอกเหนือจากที่โปรแกรมกำหนดเบื้องต้นมาให้ เช่นการเพิ่ม Entity การกำหนด Attributes การควบคุมการรวมตัวของข้อมูล เช่นการกำหนดการรวมของ link และอื่นๆๆ อีกหลายอย่างที่เราสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้นอกเหนือจากที่โปรแกรมกำหนดเบื้องต้นมากให้

6.ข้อแตกต่างระหว่าง Attribute กับ Properties

Properties มันจะอธิบายหรือบอกถึงคุณลักษณะของ Obicet ในที่นี้ คือ chart,Item ในการกำหนดคุณสมบัติในโปรแกรม I2 แยกออกเป็น 2 ส่วน คือคุณสมบัติของชาร์ต กับคุณสมบัติของรายการ (พวก Entity กับ Link) ตามที่ได้อธิบายในบทความนี้ ส่วน คุณสมบัติของชาร์ต เพื่อไม่ให้สับสนจะแยกอธิบายอีกที ดังนั้นหากจะสรุปข้อแตกต่างระหว่าง Properties กับAttribute ได้ดังนี้

  • Properties คือคุณสมบัติที่โปรแกรมกำหนดมาให้แล้วเบื้องต้น เราแค่เข้าไปแก้ไขให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
  • Attribute คือมันเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลของคุณลักษณะของ object 

สรุป Arttibute คือเราต้องกำหนดเพิ่มลงไปเอง ว่าต้องการอะไรอย่างไร ไม่ว่าทั้งการเขียนชาร์ตหรือการนำเข้า

 มาจากเว็บไซต์นี้

  • Attributes are refering to additional information of an object.
  • Properties are describing the characteristics of an object.

Most people use these two words as synonyms.

สรุป

พื้นฐานโปรแกรม i2 ที่แนะนำในบทความนี้   เป็นการวางส่วนประกอบของโปรแกรมว่า มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ในคู่มือหรือคำแนะนำมักจะเรียกรวมกันว่า รายการ (คือตัว Entity และ Link ) และในรายการแต่ละรายการนั้น จะต้องมีคุณสมบัติของแต่รายละรายการ (ที่เรียกว่า Properties) 

ในที่อธิบายที่ผ่านมาได้อธิบายในภาพรวม  ประกอบไปด้วย Entity ,link,Properties ดังนั้นในการเรียนรู้โปรแกรามต้องเข้าใจในส่วนนี้ให้ค่อนข้างละเอียด ยกตัวอย่างง่ายๆๆในการเขียนชาร์ต จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

  1. ขั้นตอนแรกคือ การเพิ่มรายการเข้าใปในชาร์ต คือการเพิ่ม Entity และ Link  ต้องเพิ่มไปสองรายการทุกครั้ง ถามว่า หากไม่เพิ่มไป 2 รายการจะได้หรือไม่ เช่น เพิ่มแต่ Enityt อย่างเดียว ตอบว่า มันได้เช่นกันแต่จะไม่สมบูรณ์ เพราะมีแต่ คำนาม ไม่มีตัวกริยา  
  2. ถามต่อว่า หากเราเพิ่ม Entity เข้าไปอย่างเดียว Entity เดียว แล้วลาก Link ได้ไหม ตอบว่าไม่ได้  ต้องใส่ Enityt 2 ตัวถึงจะลากโยงกันได้ คือต้องอยู่ในลักษณะตัวยกน้ำหนัก คือต้องมีลูกตุ้มทั้ง 2 ข้าง
  3. เมื่อเราลากรายการเข้าไปในชาร์ตแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการแก้ไขตัวคุณสมบัติของรายการแต่ละตัวที่เราเพิ่มเข้าไปในชาร์ต มันคือตัว Properties นั้นเอง

อ้างอิงข้อมูล

https://docs.i2group.com/anb/9.4.1/items.html

https://docs.i2group.com/anb/9.4.1/assigning_data_columns_to_item_properties.html

Tags:  , ,

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *