Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Subnet Mask คืออะไร

Subnet Mask คืออะไร

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อน เรื่องการแบ่ง  IP Address  ออกเป็น 2 ส่วน ก่อนนะครับ  ตามภาพข้างล่าง ในตัวอย่างเป็น Ip Address ที่อยู่ใน Class C เป็น  Class ที่พบบ่อยในระบบเครือข่ายภายในบ้านเรา ยกเว้นในองค์กร ใหญ่ๆ ที่มีคนใช้จำนวนมาก อาจจะเป็น Class อื่น แต่หากในเครือข่ายไม่เกิน 254 เครื่อง  จะใช้ Class นี่แหละเป็นหลัก โดยเฉพา Ip Address แบบ private IP  

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

  1. Network ID หรือ Network Address
  2. Host ID หรือ Host Address

ในการแบ่งว่า จะให้เป็น  Network ID มี จำนวนเท่าไร และ Host มีจำนวน เท่าใร นั้นคือ Subnet Mask นี่และครับ มันคือภาพกว้างนะครับ เราสามารถกำหนดลงไปได้อีกว่า ในเครือข่ายนั้น เราจะมี Host ได้กี่เครื่อง แต่ตามในภาพคือค่าดีฟอลต์ 

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ในเรื่อง Ip Adress 

Subnet mask นัันมาจากไหน

เขากำหนดมาครับ ปกติจะเป็นเลขฐานสอง (Binary) มีจำนวน 32 Bit เท่ากับ Ip Address นั้นแหละ ปกติแล้ว ในการกำหนดในแต่ละ Subnet Mask จะใช้วิธีการ โดยใช้ เลขฐานสอง คือ 1 กับ 0 เขามีวิธีการคิดนะครับ แต่บอกตรงๆๆ ว่าไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร ต้องมานั่งจำมาก เลยจำไม่ค่อยได้

บางคนอาจจะสงสัยว่า เขาทำ Subneting ทำไม (คือ Sub-network นะครับ )

ให้เรานึกถึงชีวิตจริงของเรานะครับ  เราจะติดต่อกับใครสักคน เขาบอกว่า เขาอยู่ในเมือง  การติดต่อเพื่อหาเขาให้เจอ จำเป็นต้องหากันทั้งเมือง แต่ถ้าเขาบอกว่า อยู่ใน ตำบลนั้น หมู่บ้านนั้น การหาก็ง่ายขึ้น  เช่นเดียวกัน หลักการเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการติดต่อ เขาเลยพยายามทำให้ระบบ Network มันเล็กลง

อีกอย่าง  ลองนึกดู เวลาเราประชุมแล้วมีคนคนจำนวนมากคุยกันมั่วไปหมด เวลาจะคุยกับใคร ก็ไม่สะดวก แต่กลับกัน หากเรากลับเข้าในในห้องทำงาน เจอคนไม่มาก  การคุยกัน ทำงานต่างๆๆ มันจะได้สะดวกขึ้น นั้นแหละครับ เหตุผลที่เขา ต้องทำ Subnet Mask

ในระบบเครือข่าย มันก็จะเกี่ยวข้องกับอีกส่วนหนึ่งด้วย คือการ Broadcast ของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่ายครับ  หากมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมาก การติดต่อกันแต่ละที หรือเมื่อมีคอมพิวเตอร์เข้ามามามาก การ Broadcast มันก็มากตามไปด้วย

ลองสังเกตุดูครับ เวลาเราประชุมหรืออบรมอะไรสักอย่าง พอเขาบอกรหัส เพื่อเข้าเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต จังหวะนั้นแหละครับ ที่อินเตอร์เน็ตมักจะล่มหรือมีปัญหา  ที่มันเป็นเช่นนั้น เพราะจะมีการ Broadcast ในระบบมาก โดยเฉพาะตอนที่มีการเชื่อมต่อครั้งแรกเพื่อรับ IP Address ที่ DHCP จ่ายมา

วิศวกร เลยคิดค้นสร้าง ตัวนี้ ขึ้นมาเพื่อลดจำนวน Host ในแต่ละ Network ลง ตัวที่เป็นพระเอก ในกรณีนี้ คือ Router ครับ

คิดว่า น่าพอจะเข้าใจในเบื้องต้น ว่าทำไมเขาต้องทำ  Subneting  แต่ไม่ต้องสนใจหรอกครับ หากไม่ใช่ Admin แล้วส่วนมาก  แทบไม่ได้ใช้ตรงนี้ เลยครับ

อีกอย่างปัจจุบันมีตัวช่วยมากในการคำนวน เกี่ยวกับ Subnet Mask ลองเข้าไปดู ใน Link เว็บไซต์ที่ช่วยในการทำความเข้าใจว่า การกำหนด Subneting เมื่อกำหนดแล้วมีค่าอะไร เท่าไร

https://www.subnet-calculator.com/
https://www.calculator.net/ip-subnet-calculator.html

http://jodies.de/ipcalc

ค้นหาคำว่า subnet mask calculator ใน Google

การแบ่ง Network ID ,Host ID ในแต่ละคลาส

ตามภาพ นั้นแหละครับ จะเห็นว่า แต่ละ Class มีการกำหนด Network ID และ Host ID ไม่เหมือนกัน เอาแค่รู้พอครับ อย่าไปปวดหัวกับมันเลย เพราะคนจัดการตรงนี้ มันมีอยู่แล้ว

หากสงสัยว่า เป็น Public หรือ Private ก็ค้น Gooele หากต้องการคำนวณ ก็เข้า Links ที่บอกไว้แล้ว และบางเว็บก็บอกมาด้วย IP นั้นประเภทไหน อย่างไร

มาลองจัดการ Subnet Mask ในบ้านหรือองค์กร ของเรา

กรณีที่เราไม่ได้เป็น Admin แต่เราสามารถจัดการ ลองเล่นได้ครับ โดยลองเล่นจากที่บ้านของเรา หรือสำนักงานของเรากรณีที่มีอำนาจในการทำ และก็เช่นเดิมครับ เรามีอำนาจในการจัดการ เฉพาะ IP Address ที่เป็นแบบ Private Address เท่านั้น ถ้ามองตามภาพคือเฉพาะในวงกลมสีเขียวเท่านั้น เพราะตัวนั้นใช้ Private Ip Addrss ที่จ่ายมายังอุปกรณ์ในบ้านเราโดยมี DHCP Server ที่อยู่ใน Router เป็นตัวจ่ายมา ดังนั้น หากเราต้องการให้ Ip Address ของเครือข่ายในบ้านเรา เป็นหมายเลข IP address แบบไหนอย่างไร สามารถแก้ไขได้ โดยเข้าไปเปลี่ยนค่าใน Router

ส่วนวงกลมสีแดง เราไม่มีอำนาจทำอะไรได้เลย เพราะ ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะจ่ายมาให้เราเอง และเป็นแบบ Dynamic คือไม่คงที่ หากไฟดับหรือมีปัญหา IP ที่ได้รับจะไม่ใช่ตัวเดียวกัน จะเปลี่ยนไปเรื่อย ดังนั้นเราจึงไม่สามารถทำ Server ไว้ที่บ้านได้ ยกเว้น เราสมัครใช้งาน Dynamic DNS 

ผู้ให้บริการ อาจจะทำ NAT มาให้เราอีกที ซึ่งพอเขาทำ NAT มาให้อีกที Ip ที่เราได้รับไม่ใช้ Public สิ่งที่เราจะเจอปัญหา คือกรณีที่เรามีกล้องวงจรปิด และทำ DDNS ไว้ มันจะไม่สามารถเชื่อมต่อเพื่อดูจากภายนอกบ้านได้ ก็ต้องบอก ผู้ให้บริการ ให้เขาจ่าย Public มาให้บ้านถึงจะใช้งานได้

เพราะฉะนั้น ในการแนะนำทั้งหมด หลังจากนี้ จะแนะนำเฉพาะ Private Address และในวงเครือข่าย 192.168.1.0/24 เท่านั้นนะครับ เพราะส่วนมาก Router ที่เจอมาจากโรงงานจะใช้ค่าตัวนี้ และหากช่างไม่แก้ไขเพิ่มเติม ส่วนมากก็จะใช้ IP นี้

ในภาพซ้ายมือ ให้ดูตรง Router   ตัวนี้ จะทำหน้าที่หลายอย่าง เดี่ยวจะแยกเป็นบทความให้อีกที แต่ตอนนี้  ให้เข้าใจในหน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องกับ Subnet mask ก่อน

โดยปกติ หากผู้ให้บริการอินเตอร์หรือ ISP เช่น 3bb tot ais, so on มาติดตั้งอินเตอร์เน็ตให้ ก็จะเอา Router มาวางให้ และใน Router นั้น จะกำหนดค่าเบื้องต้นไว้ดังนี้

  • IP Address: 192.168.1.1
  • Subnet Mask : 255.255.255.0
Click on Image to Zoom

เมื่อเอาค่าดังกล่าวไปลองคำนวณ ในเว็บ Links   ที่ช่วยในการคำนวน จะมีรายละเอียดดังนี้

  • IP Address: 192.168.1.1
  • Network Address: 192.168.1.0
  • Usable Host IP Range: 192.168.1.1 – 192.168.1.254
  • Broadcast Address: 192.168.1.255
  • Total Number of Hosts: 256
  • Number of Usable Hosts: 254
  • Subnet Mask: 255.255.255.0

แสดงว่าในบ้านเราตอนนี้  สามารถมีคอมพิวเตอร์ มือถือ และอุปกรณ์อื่นๆๆ รวมแล้วได้ไม่เกิน 254 ชิ้น  ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่เกินหรือไม่มากกว่านั้นอยู่แล้ว

แต่ถ้าเราได้ศึกษา เกี่ยวกับ Subnet Mask แล้วเราทราบว่า หากอุปกรณ์ในระบบมีมากเกินไปมันจะมีปัญหากับการการทำงานของเครือข่าย เช่นพวก Broadcast และอื่น ๆๆ  อยากลด อุปกรณ์ แต่ใช้ IP Address เดิม ก็ทำได้ครับ โดยการแก้ไข Subnet Mask เสีย

แต่ เมื่อเราจะแก้ไข เราก็ต้องเข้าใจ การเข้าไปแก้ไขค่าใน Router หรือ Firewall ของเราครับ ว่าเราจะเข้าไปจัดการส่วนนั้นอย่างไร อันนี้ อธิบายยาก  เพราะอุปกรณ์ที่เป็น Router or Firewall  มีมากมายหลายยี่ห้อ  เลยไม่สามารถอธิบายได้ ต้องศึกษา หรือค้นผ่าน ทางผู้ผลิต ก็ได้นะครับ เพราะเขาน่าจะมีคู่มือให้อยู่แล้ว

ลองมาเปลี่ยน Subnet Mask

จากตัวอย่างที่ผ่านมา เราไม่เปลี่ยนค่าอะไรเลย เป็นไปตามที่ได้รับ Router มาจากผู้ให้บริการอินเตอร์ เราก็จะได้รายละเอียด ดังที่กล่าวมาแล้ว ยกมาให้ดูอีกครั้ง คือ

  • IP Address: 192.168.1.1
  • Subnet Mask : 255.255.255.0

เดี่ยวจะมาเปลียน  Subnet Mask  เป็น 

  • IP Address: 192.168.1.1
  • Subnet Mask: 255.255.255.128

ผลที่ได้ คือ

  • IP Address: 192.168.1.1
  • Network Address: 192.168.1.0
  • Usable Host IP Range: 192.168.1.1 – 192.168.1.126
  • Broadcast Address: 192.168.1.127
  • Total Number of Hosts: 128
  • Number of Usable Hosts: 126
  • Subnet Mask: 255.255.255.128

สรุป จะได้ Network เพิ่มมาอีก Network  แต่ Host ภายใน Network แต่ละวง จะลดลง

Network Address      Usable Host Range                 Broadcast Address:
192.168.1.0                  192.168.1.1 – 192.168.1.126         192.168.1.127
192.168.1.128                192.168.1.129 – 192.168.1.254   192.168.1.255

แค่ยกตัวอย่างให้ดูนะครับ  เพราะในบ้านเราเอง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่าย น่าจะมีไม่มาก  ก็ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไร ส่วนมากเขาจะใช้จัดการใน กรณีที่เครือข่ายขนาดใหญ่มากๆๆ ครับ

แต่เรียนรู้ไว้ก็ดีครับ เคยเจอมาแล้ว ขอซื้อ Public Ip  แบบคงที่ หรือที่เรียกว่า Fix Ip  รู้สึกว่า จะขอซื้อประมาณ 2 หรือ 3  IP   ถ้าจำไม่ผิด เห็นแล้วราคามันถูกดี จาก ISP ค่ายหนึ่งที่ กำลังมีปัญหาอย่างหนักเพราะคนไม่ค่อยใช้แล้ว

พอติดตั้งเสร็จ  ขอทราบหมายเลข IP ความหมายในที่นี้ คือ  Number of Usable Hosts: คือ IP ที่เราสามารถใช้ได้จริง และไม่ใช่ IP ที่ทำหน้าที่อย่างอื่นปรากฏว่า เขาบอกมาแค่ IP Addres ตัวเดียว

เลยถามเขาไปว่าไหนบอก ว่า 3 IP   เขาบอกว่ายังไง รู้ไหมครับ เขาบอกว่า ก็ 3 IP แล้ว ก็งงว่า 3 IP ตรงไหน เขาเลยบอก

  •      IP  ตัวแรกคือ Gateway
  •      IP  ตัวที่สอง คือ IP ที่ใช้ได้จริง
  •      IP  ที่ สามคือ ตัว Broadcast

บอกตรงๆ ว่า ตกใจเลย และรีบยกเลิกทันที แต่ดี ผู้จัดการเขาเข้าใจดี  ว่ามันไม่ใช่ เพราะ IP พวกนี้ที่บางตัวมันใช้ไม่ได้ เพราะมันถูกกันไว้เพื่อใช้ทำหน้าที่อื่นในเครือข่าย แต่เขาเอามาขายด้วย ฮ่าาาา  อย่าบอกว่าเป็นค่ายไหน  สุดท้ายไปได้ของ Cat มา

Tags:  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *