Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Default Gateway คืออะไร

Default Gateway คืออะไร

Default Gateway คืออะไร  ในการดูค่า Default Gateway ในกรณีที่เราใช้คอมพิวเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายในบ้านหรือสำนักงานของเรา หรือไม่ว่าจะเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายไหน หากเราต้องการทราบเพื่อดูว่า Default Gateway ที่เราใช้งานอยู่หมายเลข Ip อะไร ให้ใช้คำสั่งตามนี้

  1. ให้ลองเปิด command prompt 
  2. แล้วก็พิมพ์ คำสั่ง ipconfig/all  แล้วดูผลที่เกิดขึ้นครับ 
  3. โดยให้เลื่อนดู ตรงที่เขียนว่า Default Gateway  จะเห็น มันจะอยู่ในลักษณะนี้

Default Gateway . . . . . . . . . : 192.168.10.1

นั้นแหละครับ คือ Default Geteway  ของเครือข่ายในบ้านเรา Default Geteway  ส่วนมาก หากระบบในบ้านเราไม่ซ้ำซ้อนมาก   มันคือ ตัว Router ครับ

Router คืออะไร มันคืออุปกรณ์ที่ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตให้เรามาตอนเราติดตั้งเพื่อขอใช้อินเตอร์เน็ต นั้นแหละครับ

Default Geteway  คืออะไร มันคืออุปกรณ์ในระบบเครือข่ายชิ้นหนึ่งที่เป็นช่องทางให้กับอุปกรณ์ในเครือข่ายหนึ่ง ใช้เพื่อออกไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เช่น เครือข่ายในบ้านเรา ออกสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็ต้องออกผ่านช่องทางที่เรียกว่า  Default Gateway   พูดง่ายๆๆ คือเป็นประตูสำหรับออกสู่ภายนอก  หากไม่มีอุปกรณ์ชิ้นนี้ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway  คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายจะไม่สามารถออกไปยังเครือข่ายอื่นได้ อย่างที่บอก ในบ้านเราตัวที่ทำหน้าที่เป็น Default Gateway  คือ Router และใน Router นั้นจะทำหน้าที่อย่างอื่นด้วย เช่น จ่าย Ip ให้กับเครื่องลูกในเครือข่าย อ่านได้เพิ่มเติมในบทความเกี่ยวกับ Router

นึกอะไรไม่ออก ให้นึกถึงเราขึ้นเครื่อง นะครับ ก่อนออกจากสนามบิน ก็ต้องหา Gate ให้เจอเพื่อหาทางออก ไปขึ้นเครื่องไปยังที่อื่น

กรณีเครือข่ายไม่มี Default Gateway

โดยปกติแล้ว หากในบ้านของเรา หรือในองค์กรไหน หรือในเครือข่ายไหนก็ตาม  ไม่มี Default Gateway  ก็จะเป็นลักษณะดังภาพครับ  คือคอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อผ่านสวิตช์อย่างเดียว และAdmin ต้องกำหนดค่า IP Address เอง ให้กับอุปกรณ์ในเครือข่ายทุกเครื่องทุกชิ้น ในการกำหนดนั้นจะต้องไม่ซ้ำกันของแต่ละชิ้น แต่ละเครื่อง แต่ต้องอยู่ภายในวงเดียวกัน 

จากรูปแบบดังกล่าว ส่วนมากไว้สำหรับ แชร์เครื่องพิมพ์ หรือข้อมุลทั่วไปได้ครับ แต่จะออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้ หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นไม่ได้ ในการตั้งเป็นเครือข่ายอื่น แค่ตั้ง Ip Address ให้แตกต่างกัน แม้จะอยู่รวมกับสวิตช์อันเดียวกันหรือพ่วงสวิตช์อีกตัว ก็จะมองไม่เห็นเครือข่ายอื่นเช่นกัน 

สำหรับการตั้งค่าของเครือข่าย ในรูปแบบดังภาพ ตั้งค่าแค่  IP Address กับ Subnet mask  อย่างเดียว ก็ได้แล้ว ก็ไม่ต้องตั้งค่า Gateway หรือ DNS server  อื่นๆๆ แต่อย่างใด

กรณีเครือข่ายมี Default Gate

ในกรณีหากจะให้อธิบายเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ในกรณีที่เมื่อเราต้องการใช้อินเตอร์ หลังจากที่เราสมัครใช้งาน ผู้ให้บริการจะเอา Router มาวางให้ แล้วตัว Rotuter ตัวนั้นจะเป็นตัวจ่าย Ip Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือในบ้านเร  ตัว Router  นั้นแหละครับ คือ Default  Gateway ของเครือข่ายในบ้านเรา มันจะทำหน้าที่ เป็นช่องทางออกไปยังเครือข่าย อินเตอร์เน็ต 

และที่เรียกว่า Defauat Gateway เพราะมันเป็นช่องทางแรกที่ถูกกำหนดว่าต้องผ่านทางนี้

มันจะรู้และเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกได้อย่างไร

จากที่ยกตัวอย่างมาให้ดูในตัวอย่างแรก หากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน ต้องการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน ก็เชื่อมต่อผ่าน Switch ได้เลย เพราะเราไม่ได้กำหนด Default Gate (หากจะกำหนด ก็ได้แต่เราจะใช้คอมพิวเตอร์ตัวไหนเป็น Gateway เมื่อไม่มีแต่เรากำหนด มั่วๆๆ ไปมันจะมีปัญหาเปล่าๆๆ )

สำหรับในกรณีที่ในเครือข่ายมี Default Gateway  หากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายต้องการออกไปยังอีกเครือข่าย ในที่นี้คือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และมันจะต้องเชื่อมต่อผ่าน Default Gateway ปัญหาที่ตามมาคือ แล้วมันจะรู้ได้อย่างไร ทำงานอย่างไร

แต่ก่อนจะลงรายละเอียด ให้ทำความเข้าใจรุปแบบของ IP Address  ว่ามีการกำหนดและแบ่งออกเป็น Octet   ตามภาพข้างล่างนะครับ  นั้นคือรูปแบบของ IP Address และการแบ่งเป็น Octet  4 Octet

หากอ่านแล้วแล้วยังไม่เข้าใจ ให้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับบทความเรื่อง Ip Address ที่เขียนตั้งไว้แล้ว 2 บทความ ที่เขียนไว้ใน Blog และที่เขียนไว้ใน Knowledge

Ip Address แบ่งออกเป็น Network ID และ Host ID

เมื่อเข้าใจ รูปแบบของ IP ที่มีการแบ่งเป็น Octet แล้ว ก็ให้มาทำความเข้าใจ ว่า IP Address มีการแบ่งออกเป็น 2  ส่วน  ตามภาพตัวอย่างนะครับ  (ที่ยกตัวอย่างเป็น Class C นะครับ  คลาสอื่นจะแตกต่างกัน)

  1. ในส่วนที่เป็น Networ ID ให้ดูที่ 3 Octet แรก มีจำนวน  24 Bits หากอยู่เครือข่ายเดียวกัน    3 Octet นี้จะต้องมีค่าเหมือนกัน
  2. ให้ดูในส่วนของ Octet ท้ายสุด  ที่เขียนว่า Host มีจำนวน 8 bits  ส่วนนี้จะเป็น   Host ID   สามารถมี Host (คืออุปกรณ์ในเครือข่าย) มีได้แค่  254 Host 
  3. ตั้งแต่หมายเลขของ Host ID ที่กำหนดในเครือข่าย ระหว่างเลข 1-254 หมายเลขตัวนี้ในการระบุให้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่าย แต่ละชิ้น จะต้องไม่ซ้ำกันเพราะมันจะเป็นตัวแยกแยะ Host ในเครือข่ายนััน

กรณีการอ้างอิงเครือข่ายและการกันไว้เพื่อใช้ในระบบ

ในตัวอย่างที่ยกมาอธิบายเกี่ยวก้บ Host ID จะใช้หมายเลขได้ 254 เครื่องระหว่าง 1-254 แต่ส่วนมากแล้วเพื่อความสะดวกในการจดจำ มักจะกำหนดหหมายเลข 1 ให้เป็น router  ยกตัวอย่าง

  • 192.168.10.1  = Router
  • 192.168.10.2-192.168.100.254 =จ่ายให้กับอุปกรณ์ในเครือข่าย

แต่ยังมีอีกที่เราต้องเข้าใจคือ Ip Address ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 กับ 255

  1. 192.168.100.0  ลงท้ายด้วย 0  หมายถึงการอ้างอิงถึงเครือข่ายทั้งหมดทุกอุปกรณ์
  2. 192.168.100.255    ลงท้ายด้วย 255  จะกันไว้เพื่อทำ Broadcast ในระบบเครือข่ายนั้นๆๆ


ส่วนการแบ่ง IP Address เป็น Network ID กับ  Host ID  นั้น แบ่งโดยการทำ Subnet mask   เพราะฉะนั้น เราต้องทำความเข้าใจ Subnet Mask ด้วยนะครับ

การติดต่อภายในเครือข่ายและนอกเครือข่าย

ต่อมา มาดูกันนะครับ ว่า คอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลในเครือข่ายเดียวกันหรือคนละเครือข่ายกัน โดยใช้หลักการทำงานอย่างไร

ในภาพข้างบน แบ่งเครือข่ายหรือ Network ออกเป็น 2 เครือข่าย

  1. เครือข่ายแรก    192.168.10.0/24  (ซ้ายมือ)
  2. เครือข่ายที่สอง  192.168.5.0/24   (ขวามือ)

เมื่อพิมพ์แบบนี้  เราก็รู้ได้ทันทีว่า อ้อ ๆๆ มันอยู่คนละเครือข่ายกัน  เพราะหากดู Octet ทั้ง 3  ตัว  ตรงตัวเลขสีแดง  ตัว Octets ตัวที่ 3  จะแตกต่างกันโดย

  • เครือข่ายแรกมันเลข  “10” 
  • อีกเครือข่ายจะเป็นเลข “5”  

เพราะอย่างที่บอกแล้วนะครับ ว่า หากอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน  Network ID มันจะต้องเหมือนกัน ทั้ง 3 Octets

คอมพิวเตอร์ก็เช่นกันครับ มันก็รู้ว่าคนละเครือข่ายกัน แต่มันรู้ เพราะมันเอามาจับคู่กัน  ระหว่าง IP Address กับ Subnet Mask  โดยใช้ แบบตัวเลขฐาน 2  

มาดูตัวอย่างกันนิดนะครับ 

กรณีแรก เป็นการติดต่อกันภายในเครือข่าย

คอมพิวเตอร์ A  ต้องการจะติดต่อกับ คอมพิวเตอร์ B  สิ่งที่มันจะต้องทำคือ 

  1. ตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะติดต่ออยู่เครือข่ายเดียวกันไหม หากตรวจสอบแล้วพบว่าอยู่เครือข่ายเดียวกัน  คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่ายที่ต้องการจะติดต่อ  จะจัดการส่ง Broadcast เข้าไปยังในเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นอยู่  ไม่ต้องส่งไป Default Gateway  เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการจะติดต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันอยู่แล้ว    ยกตัวอย่างเช่น
    1. คอมพิวเตอร์ A  ต้องการติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ B
    2. เมื่อจะเริ่มติดตั้ง  คอมพิวเตอร์ A จะตรวจสอบก่อนว่าอยู่ในเครือข่ายกันไหม
    3. เมื่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน คอมพิวเตอร์ A จะส่ง Broadcast (คือการประกาศไปทั่วทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย) เพื่อถามว่า คอมพิวเตอร์ B  ที่มีหมายเลข IP =192.168.10.4  มีหมายเลข Mac Address อะไร  ให้ส่งค่า Mac Address กลับมายังคอมพิวเตอร์ A  หมายเลข IP 192.168.10.2 หน่อย
    4. เมื่อคอมพิวเตอร์ B ได้รับ บรอดคาสต์ ก็ส่งหมายเลข Mac Address (ย้ำนะครับ หมายเลข Mac Address ไม่ใช่หมายเลข IP ) ไปยังคอมพิวเตอร์ A  แล้วหลังจากนั้น ก็เริ่มติดต่อกัน

กรณีที่สอง เป็นการติดต่อกันระหว่างเครือข่าย(ติดต่อไปยังเครือข่ายอื่น)    เช่น คอมพิวเตอร์ A ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ E (อยู่คนละเครือข่ายกัน)  ก็เช่นเดิมครับ ก่อนติดต่อ สิ่งที่ต้องทำก่อนคือ

  1. ตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะติดต่อนั้นอยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือไม่  หากตรวจสอบแล้วพบว่า คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะติดต่อกัน  ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน  ตรงนี้ แหละ Default gateway  จะเข้ามาเป็นพระเอก  เพราะ Defauat Gateway จะเป็นเส้นทางสู่ออกไปข้างนอกเครือข่าย
    1. คอมพิวเตอร์ A  เมื่อรู้ว่า คอมพิวเตอร์ E  ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ก็ต้องหาทางออกจากเครือข่ายของต้นเอง เพื่อหาเครือข่ายข้างนอก และหากเราไปดูค่าตอนที่เราใช้คำสั่ง  ipconfig /all  มันจะกำหนด IP Address ของ Default Gateway ไว้แล้ว  คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะติดต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่ายอื่น นอกเครือข่ายของตัวมันเอง จะส่ง  Broadcast  เพื่อถามว่า Mac Address ของ Router คืออะไร  เพื่อต้องการจะติดต่อกับ Default Gateway ก่อน (ส่วนมากคือ Router)
    2. เหตุที่ส่ง  Broadcast  เพื่อถามว่า Mac Address ของ Router นั้น เพราะว่า Router กับ Default Gateway หากเป็นเครือข่ายธรรมดาทั่วไป  มันคือตัวเดียวกัน   เมื่อ Router ตอบและส่ง Mac Address กลับมา ให้คอมพิวเตอร์ A   
    3. คอมพิวเตอร์ A  จะทราบหมายเลข  Mac Address ของ Router แล้วจะเริ่มการติดต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์ A และ router  หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผ่าน Router ซึ่งเป็น Default Gateway เพื่อหาช่องทางออก ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ B ต่อไป 
    4. ส่วนการติดต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ E นั้นก็จะเป็นหน้าที่ของ Router ที่ทำหน้าที่เป็น Default Gateway ที่จะส่ง Broadcast  เพื่อถามว่า Mac Address ของคอมพิวเตอร์ E หมายเลขอะไร  เมื่อทราบแล้ว จะเริ่มการติดต่อกันได้ ตามที่ได้อธิบายมาแล้ว

รายละเอียดในขั้นตอนการสอบภามค่า Mac Address จะใช้ ARP Protocol  ครับ  ก็คิดว่า น่าจะพอเข้าใจ ว่า Default Gateway คืออะไร ไม่มากก็น้อยนะครับ

สรุปง่ายๆๆ ได้ว่าในบทความเรื่อง Default Gateway คืออะไร Default Gateway  คืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่น เช่น  เครือข่ายในบ้านเรา หากต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็ต้องผ่าน Default Gateway

อ่านต่อบทความพวกนี้ประกอบด้วยนะครับ เพื่อให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงในบทความ Default Gateway คืออะไร

จากเว็บไซต์นี้ และอีกหลายๆ เว็บไซต์

Tags:  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *