ตั้งวาล์ว Sj413

ตั้งวาล์ว Sj413 หรือ valve lash ที่แนะนำเฉพาะขั้นตอน แต่บางครั้งการตั้งวาล์ว ค่าต่างๆๆ อาจจะไม่เป็นไปตามสเปคโรงงานได้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดจากการสึกหรอของกระเดื่อง (rocker arm) หรือ ตรงที่เชาเรียกว่า ขลุ่ย (rock arm shaft) มีการสึกหรอ ค่าต่างๆๆ อาจจะเพี้ยนไป ดังนั้น ต้องตั้งแล้วดูอาการ และหลักง่ายๆๆ คือให้ค่าของ ไอดีและไอเสีย มีส่วนต่างกัน ประมาณ 3 ค่า อย่างเช่น หากเราตั้ง ไอดี 17 ไอเสียตั้ง 20 นั้นคือส่วนต่าง แต่ให้เราอ้างอิงจากสเปคโรงงานเป็นหลัก หากเราลดค่า ไอดีเท่าไหร ก็ต้องลดค่าไอเสียลงเท่ากัน

การนับสูบ จัดเรียงโดยนับจากด้านหน้าของเครื่องยนต์ จริงๆๆ และไม่ต้องบอกก็ได้ แต่เผื่อมือใหม่ที่เข้ามาอ่าน หรือต้องการศึกษาเบื้ยงต้น แต่มันจะเกียวพันกับจังหวะการจุดระเบิด ลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ว่า จุดระเบิดตามขั้นตอนอย่างไร (Ignition timming) ในกรณีของ SJ413 จังหวะการจุดระเบิด จะเรียง 1-3-4-2 นั้นคือ
- จังหวะที่สูบ 1 อัดสุด ส่วนสูบ 4 จะเป็นจังหวะโอเวอร์เลบ (ไอเสียคายออก ไอดีเริ่มเข้า)
- หลังจากนั้น เป็นจังหวะที่สูบ 3 อัดสุด สูบ 2 จะโอเวอร์เลบ
- หลังจากนั้นจะเป็นจังหวะที่สูบ 4 อัดสุด ในตอนนี้ สูบ 1 จะโอเวอร์แลบ
- ต่อมาเป็นจังหวะที่สูบ 2 สูบที่ 3 จะโอเวอร์แลป
จำง่าย 1-3-4-2 คือลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ SJ413 เหตุที่ต้องจำตัวนี้ เพราะจะใช้ในขั้นตอนการตั้งวาล์ว และขั้นตอนการตั้งมาร์คจานจ่าน ซึ่งหากในห้วงเวลาปกติ ไม่มีการรื้อวาล์ว หรือรื้อเครื่องยนต์ หรือถอดจานจ่าย วิธีการที่ดูง่ายๆๆ ว่า ตอนนี้ สูบไหนกำลังอยู่ในจังหวะอัดสุด ให้ดูตรงโรเตอร์(หัวนกกระจอก) ของจานจ่าย
เกี่ยวกับมาร์ค
อย่างที่บอกในกรณีที่เรารื้อจานจ่าย หรือรื้อฝาสูบ สิ่งที่สามารถทำให้เรารู้ได้ง่ายที่สุดว่าสูบไหน ตอนนี้อัดสุด ใช้วิธีการดูมาร์ค โดยปกติ จะมีมูเลย์ตัวบนที่ยึดติดกับแคมชาร์ฟ และมูเลย์ตัวล่างยึดติดกับเพลาข้อเหวี่ยง ในการตั้งมาร์คคือใส่สายพานไทม์มิ่ง ระหว่างสองมูเลย์นั้น แล้วตั้งมาร์ค ที่เขากำหนดให้ตรงเพื่อให้จังหวะการหมุนของมูเลย์แคมชาร์ฟและมูเลย์เพลาข้อเหวียงมีความสำพันธ์กัน แต่ ในที่นี้จะยก ตัวอย่างเฉพาะมูเลย์ตัวบนที่ยึดติดกับแคมชาร์ฟ เพราะมันจะทำให้เราทราบว่าตอนนี้ สูบไหนอัดสุด ส่วนมากจะดูที่ สูบ 1 และสูบ 4

ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ทุกชนิด ส่วนมากที่สำคัญคือ “มาร์ค” ส่วนมากจะเป็นการกำหนดเพื่อให้มีความสำพันธ์กัน ระหว่างแคมชาร์ฟ และเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้ถูกต้อง ในจังหวะการจุดระเบิด ในการประกอบเครื่องยนต์ต้องดูมาร์คให้ตรง และจังหวะใส่สายพานด้านที่ไม่มีตัวดันสายพานจะต้องตึง
แต่ในที่นี้ ไม่อยู่ลงลึกสามารถดูได้ในบทความเกี่ยวกับ Engine ในบทความนี้ แนะนำเฉพาะให้ดูมาร์คของมูเลย์แคมชาร์ฟ (Camshaft) จากภาพด้านบน นั้นคือการตั้งมาร์คกรณีให้ระหว่างมาร์คของมูเลย์แคมชาร์ฟและมูเลย์เพลาข้อเหวี่ยงตรงกัน หากมาร์คอยู่ในลักษณะดังนี้ แสดงว่าตอนนี้ สูบ 4 อัดสุด ในกรณีที่เราต้องการให้สูบ 1 อัดสุด เราต้องหมุนมูเลย์แคมชาร์ฟ ให้มาร์ค หมายเลข 2 มาอยู่ด้านล่าง แล้วสูบ 1 จะอัดสุด (แต่หากไม่รื้อเครื่องหรือถอดจานจ่าย ให้ดูที่จานจ่ายแทนได้)
ระยะห่างของวาล์ว
การตั้งระยะห่างของวาล์ว คือการตั้งระยะห่างระหว่างกระเดื่องกดวาล์วกับตัววาล์ว (ดังภาพข้างล่างคือ A

จากภาพด้านบนคือระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสีย ตั้งในขณะเครื่องเย็น หรือเครื่องร้อน
วิธีการตั้งวาล์ว

การนับหมายเลขของกระเดื่องตั้งวาล์ว

ต้องทำความเข้าใจ ความหมายของลำดับเลข เพื่อจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
การดูมาร์ค TDC หรือ Top Dead Cente
เปิดฝาครอบตรงช่องครัช เพื่อดูมาร์คตรงพลายวีล โดยการหมุนมูเลย์เพลาข้อเหวี่ยง (หากบางรุ่นไม่มีช่องนี้ ให้ดูตรงมูเลย์เพลาข้อเหวี่ยง) วิธีการให้หมุนจนมาร์ค T (หมายเลข 2 ) ให้ตรงกับหมายเลข 1 นั้นแสดงว่า เครื่องยนต์อยู่ในจังหวะอัดสุด (TDC หรือ Top Dead Cente) แต่ในขั้นตอนนี้ เราอาจจะไม่รู้ว่าระหว่างสูบ 4 กับสูบ 1 สูบไหนอัดสุด ให้ดูตรงมาร์คของมูเลย์แคมชาร์ฟ ว่าอยู่บนหรือล่างอย่างที่อธิบายมาแล้ว หรือหากว่ามีจานจ่าย ให้ดูตรงหัวโรเตอร์ดังภาพข้างล่าง

เมื่อเราถอดฝาครอบจานจ่านมาแล้ว หัวโรเตอร์จะต้องตรงกับสูบหนึ่งดังภาพ ในตอนนี้ เมื่อแน่ใจว่าสูบ 1 อัดสุด ให้ขยับตรงกระเดื่องวาล์ว เราจะเห็นว่า วาล์ว หมายเลข 1-2-5-7 จะสามารถขยับได้ เมื่อเราหมุนเพลาข้อเหวียงอีกรอบ จะมีวาล์วที่ขยับได้คือ 3-4-6-8
ดังนั้น ในการตั้งวาล์ว
เมื่อสูบ 1 อัดสุด เราสามารถตั้งวาล์วได้ตามหมายเลข 1-2-5-7
เมื่อหมุนเพลาข้อเหวี่ยงอีกรอบ แสดงว่า สูบ 4 อัดสุด ให้ตั้งวาล์วหมายเลข 3-4-6-8
ในจุดนี้ หากเราสังเกตุ จะเห็นว่า ในกรณีสูบ 1 อัดสุด เราตั้งวาล์ว หมายเลข 1 กับ 5 ได้ เพราะวาล์ว ทั้งสองตัวจะปิดเพื่อเตรียมจุดระเบิด ดังนั้น เราแค่หมุนเพลาข้อเหวียง 2 รอบ ก็สามารถตั้งวาล์วครบทุกตัว
แรงขันฝาครอบวาล์ว
