Sj413 Carburetor

Sj413 Carburetor จริงๆๆ แล้วอยากตั้งชื่อภาษาไทย แต่ มันมีปัญหาเกี่ยวกับ link เลยตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แทน เหตุผลที่เขียนบทความนี้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคาร์บูเรเตอร์ของ SJ413 เพราะว่า ระบบคาร์บู ฯ เป็นระบบที่ดิบๆๆ คือไม่มีค่าอะไรต่างๆๆ มากมาย แม้ว่าจะกินน้ำมันมากไปนิด แต่การซ่อมบำรุงหรือตรวจเช็ค ค่อยข้างจะง่าย เพราะไม่มีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ไม่มีการควบคุมด้วย Ecu พูดง่ายๆๆ คือส่วนมาก เป็นแบบกลไกมากกว่า เลยง่ายในการซ่อมบำรุง
ขอบคุณ ออ๋งลีโอ ออ๋ง ลีโอ ที่สนับสนุนอะไร โดยให้มาฟรีๆๆ ไม่คิดเงิน ทำให้สามารถเขียนบทความนี้ขึ้นมาได้
ส่วนประกอบของคาร์บูเรเตอร์
คาร์บูเรเตอร์ มีส่วนประกอบชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยหลายชิัน ดังนั้นในการรื้อให้ระวัง จะหล่นสูญหาย ทางที่ดี ขณะรื้อ ให้รื้อภายในภาชนะ อย่างรื้อบนพื้น เพราะชิ้นส่วนเล็กๆๆ อาจจะสูญหายได้ และ ต้องสนใจรายละเอียดเล็กๆๆ น้อยๆๆ หากไม่แน่ใจ ให้ถ่ายรูปส่วนประกอบภายนอกไว้ เผื่อจะได้ไม่ช้าในการประกอบ แต่โดยหลักแล้ว อุปกรณ์ต่างๆๆ มีการบังคับไว้แล้วส่วนมากกว่า ส่วนไหนเชื่อมต่อตรงไหน

รายละเอียดของแต่ละชิ้นส่วน
- Idle up diaphragm
- Acceleration pump arm
- Hot idle conpensator (HIC)
- Vacuum tramsmitting valve (VTV)
- Dash pot
- Needle valve and seat
- Float
- Fuel cut solenoid valve
- Steel ball
- Primary slow jet
- Acceleration pump plunger
- Primary main jet
- Gasket
- Power jet
- Power valve
- Idle speed adjusting screw
- Secondary actuator
- Power piston
- Secondary main jet
- Choke opener jet
- Gas ket
- Air horn (upper cover)
- Wax element and choke opener
- Choke opener
ระบบการทำงานของคาร์บูเรเตอร์
หน้าที่หลักของคาร์บูเรเตอร์คือทำหน้าที่ผสมน้ำมันกับอากาศ แล้วส่งเข้าห้องเผาใหม้ เพื่อทำการจุดระเบิดด้วยหัวเทียน นั้นคือหลักการกว้างๆๆ แต่การทำงานในแต่ละระบบจะไม่เหมือนกัน
คาร์บูเรเตอร์ มีช่องทางในการทำงานเพื่อผสมอากาศและน้ำมัน และส่งเข้าทางท่อร่วมไอดี แบ่งออกเป็น 2 ช่องทาง นั้นคือทางระบบหลัก (Primary ) และระบบรอง (Secondary) แต่โดยหลักแล้วหากรถวิ่งเร็วไม่มาก จะใช้แค่ระบบหลักเท่านั้น
ระบบการทำงานจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ นั้นคือ
- Primary high speed system คือ ระบบหลักในขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วปกติ ไม่ใช่เดินเบาหรือเร่งเครื่องทันทีทันใด
- Low speed คือระบบเดินเบา ในจังหวะที่รถไม่ได้เคลื่อนตัว
- Acceleration pump system คือระบบในตอนที่เร่งเครื่องยนต์อย่างทันที หรือในจังหวะต้องการให้เป็นตัวช่วยในระหว่างรถเคลื่อนตัวก่อนเข้าสู่ระบบความเร็วปกติ

โดยปกติ ในกรณีที่รถใช้งานปกติ มักจะใช้ระบบหลัก แต่ ในกรณีที่รถโหลดมาก หรือวิ่งเร็ว จึงจะใช้ระบบรอง ในบทความนี้ จะอธิบายเฉพาะระบบ หลักเท่านั้น เพราะรถส่วนตัววิ่งไม่เกิน 80 กม.ต่อชม. ให้เข้าใจง่ายๆๆ Primary คือระบบที่ใช้งานจริง ส่วน Secondary เป็นรูปแบบสำรอง เพื่อช่วยในกรณีที่วิ่งด้วยความเร็วมากๆๆ เพื่อช่วยรูปแบบ Primary มีทีหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบลูกลอย และระบบ chock ในกรณีที่เครื่องยนต์ยังไม่ถึงอุณหภูมิที่ทำงานด้วย แล้วค่อยอธิบายเพิ่มเติมอีกที
[Primary slow system]
วงจรการทำงานของระบบเดินเบา

วงจรการทำงานของระบบเดินเบา
ระบบนี้ประกอบด้วยโซลินอยด์วาล์ว ( 1.Solenoid valve ) ซึ่งจะเปิดวงจรระบบเมื่อกุญแจสตาร์ท อยู่ที่ตำแหน่ง ON และปิดเมื่อเราปิดสวิทช์มาอยู่ที่ตำแหน่ง OFF
เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไหลผ่านนมหนูหลัก ( Primary main jet) และจะเดินทางมายังนมหนูสโลว์ ( Primary slow jet) ในตอนนี้ จำนวนน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกกำหนดโดยนมหนูสโลว์ และผสมกับอากาศที่เขามาจากช่องอากาศสำหรับวงจรสโลว์ ช่องแรก คือ Slow air beel No.1 hole (หมายเลข 4 ในภาพ หลังจากนั้น ส่วนผสมจะไหลผ่านนมหนูแบบประหยัด (อีโคโนไมเซอร์ มันคือนมหนูอากาศหรือโซลินอยล์) จากนั้นจะผสมต่อไปกับอากาศที่ไหลผ่านช่องสำหรับอากาศเข้า ลำดับที่สอง คือ Slow air beel No.2 hole และจะถูกระบายออกทางพอร์ตบายพาส ( By-pass port) และตัวจ่ายส่วนผสมหรือหัวฉีดเดินเบาที่
อยู่ใกล้กับลิ้นปีกผีเสื้อหลัก
ในขณะที่เดินเบา ส่วนผสมส่วนใหญ่ จะถูกปล่อยออกผ่านทางตัวส่วนผสมสำหรับเดินเบาหรือหัวฉีดเดินเบา*Idle nozzle) และผสมกับอากาศในรูหลัก ดังนั้น อัตราส่วนของส่วนผสมจึงถูกปรับโดยสกรูปรับส่วนผสมเดินเบา
นั่นคือ หากเราขันสกรูเข้า จะทำให้ส่วนผสมบางลงและการคลายเกลียวจะทำให้ส่วนผสมหนาขึ้น
นั้นคือหลักการทำงานของระบบเดินเบาทั้งหมด หลังจากเรารู้การทำงานของมันแล้ว มาดูเส้นทางเข้าของน้ำมันและอากาศที่ได้ถ่ายรูปของจริงเอาไว้
เส้นทางที่น้ำมันเข้าสู่ระบบ
ในขั้นตอนนี้ ขอข้ามระบบลูกลอย และเส้นทางน้ำมันที่มาจากถึงน้ำมัน แต่จะเริ่มอธิบายเฉพาะเส้นทางเข้าน้ำมันในวงจรการทำงานของระบบเดินเบาเท่านั้น

โดยปกติหากในระบบเดินเบา น้ำมันจะเข้าทางช่อง 1.Primary Manin jet หรือนมหนูหลัก ในตอนนี้ Power jet (ไม่ทราบช่างเขาเรียกว่าอะไร) ตามภาพด้านบนตรงที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Primary main jet และ Secondary main jet จะปิด เพราะสูญญากาศในท่อร่วมไอดียังปกติ น้ำมันเลยเข้าทาง Primary main jet อย่างเดียว ส่วน Power Jet จะทำงานช่วงไหนอย่างไร จะอธิบายอีกที เอาเป็นว่า ตอนนี้ ให้เข้าใจว่า น้ำมันจะเข้าทางช่องนมหนูหลัก (Primary Main jet)
ระบบอากาศ
จากภาพด้านล่าง จะเห็นว่ามี 2 ภาพ เหตุผลที่นำมาคู่กันเพื่อให้เข้าใจว่า กรณีอากาศเข้าในรอบเดินเบา กับกรณีเครื่องยนต์วิ่งด้วยความเร็วปกติไม่ได้เร่งเครื่องเส้นทางที่อากาศเข้าจะแตกต่างกัน
ภาพแรกคือเส้นทางที่อากาศเข้าขณะเดินเบา คือหมายเลข 2 และ 3 (Primary slow bleed hole No.1 ,Primary slow bleed hole No.2)
ส่วนภาพที่ 2 คือ ช่องอากาศเข้าในขณะที่เครื่องยนต์วิ่งปกติ (Primary main air bleed hole )

เป็นภาพอ้างอิงจากคู่มือ นำมาลงไว้ ว่า บทความนี้ อ้างอิงจากคู่มือ ไม่ได้ แนะนำเพราะทำตามเขามา แต่ในตอนนี้ ขอให้ทำความเข้าใจภาพบน แล้วมาดูของจริงที่ถ่ายไว้
เส้นทางของส่วนผสมเข้าสู่ห้องเผาใหม้ของระบบเดินเบา

จากภาพด้านบน ระบบเส้นทางเข้าของอากาศ มีสองเส้นทางในการเข้าสู่ระบบ ช่องทางแรกหมายเลข 1 เป็นช่องทางที่เข้าไปยังนมหนูเดินเบาเพื่อผสมกับน้ำมัน ต่อมาจะมีช่องทางที่ 2 เป็นช่องทางอากาศเพิ่มเติมเพื่อผสมกับส่วนผสมที่จะเข้าไปยังโซลินอยล์ซึ่งเป็นนมหนูแบบประหยัดน้ำมัน รวมทั้งเป็นตัวปิดระบบน้ำมันทั้งหมดเมื่อเราดับเครื่องยนต์ ดังนั้น ในการทำความสะอาด จุดนี้ ก็สำคัญเช่นกัน และที่สำคัญอีกอย่างคืออย่าใช้ลวดหรือของแข็งที่แข็งกว่าแยงเข้าไปเพื่อเอาเขม่าออก เพราะอาจจะทำให้ขนาดของรู ซึ่งทำหน้าที่กำหนดอากาศเข้าไปมีการเปลี่ยนแปลงได้ ให้แน่นใช้ลมแรง หรือหากลมแรงไม่ออก อาจจะใช้ไม้ที่ไม่แข็งมาก แยงได้ แต่ระวัง มันจะหักติดข้างใน

ระบบทางเดินของน้ำมัน จะเริ่มจากน้ำมันในห้องลูกลอย จะเข้าผ่านทางนมหนูหลัก (Primary main jet) แล้วจะเข้าทางนมหนูเดินเบา โดยนมหนูเดินเบาจะเป็นตัวกำหนดน้ำมัน ในตอนนี้ อากาศกับน้ำมันจะผสมกัน ตามที่ได้อธิบายแล้วถึงช่องทางอากาศข้างต้น หลังจากนั้นส่วนผสม จะเดินทางไปยังโซลินอยล์หรือนมหนูไฟฟ้า และยังมีอากาศมาผสมด้วยอีกส่วนหนี่ง
นมหนูไฟฟ้า จะทำหน้าที่ให้ช่วยประหยัดน้ำมัน และช่วยตัดระบบน้ำมันเมื่อเราดับเครื่องยนต์ หากเราต้องการทดสอบนมหนูไฟฟ้า แค่ปิดเปิดสวิตข์ ก็จะได้ยินเสียงการทำงานของมัน เมื่อผ่านทางนมหนูไฟฟ้าแล้ว ก็จะเดินตามเส้นทางที่จะอธิบายในภาพต่อไป

หลังจากมีส่วนผสมแล้ว เส้นทางของส่วนผสมที่ออกจากนมหนูไฟฟ้า จะมีช่องทางในการออกโดยผ่านเส้นทางมายังบริเวณที่ติดกับฐานคาร์บูเรเตอร์ในบริเวณนี้ จะเป็นส่วนที่เป็นปะเก็น ดังนั้น ให้ระวังว่า ต้องมีรูของปะเก็นและไม่ได้ปิดช่องทางนี้

ภาพด้านบน คือบริเวณด้านบนของฐานคาร์บูเรเตอร์ที่จะไปประกบกับตัวคาร์บู ฯ จะมีช่องทางสำหรับเชื่อมต่อจากนมหนูไฟฟ้า หรือโซลินอยล์เพื่อไปยัง สกรูปรับอากาศ และช่องสำหรับปล่อยส่วนผสม

การปล่อยส่วนผสมเข้าสู่ห้องเผาใหม้ จะปล่อยส่วนผสมออกทางตัวจ่ายส่วนผสม และ By-pass port (ไม่ทราบว่าช่างเรียกว่าอะไร แต่มันจะเป็นรูเล็กตรงลิ้นปีกผีเสื้อพอดี
แต่ ส่วนใหญ่แล้วการปล่อยส่วนผสม มักจะปล่อยออกทางตัวจ่ายหรือรูสำหรับจ่ายส่วนผสมสำหรับเดินเบามากกว่า และในรูตรงนั้น จะมีการผสมกับอากาศเพิ่มเติมอีกทีหนึ่ง ดังนั้นจึงมีสกรูสำหรับปรับส่วนผสมด้วย อย่างที่กล่าวมาแล้ว หากระบบมีปัญหา ก็ต้องตรวจเช็คสกรู และสปริงด้วย รวมทั้งช่องทางที่ปล่อยส่วนผสมออกมา
ระบบปั้มเร่งความเร็ว
วงจรของระบบปั้มแร่ง

หลักการทำงานของระบบปั้มเร่งความเร็ว
เมื่อเราเหยียบคันเร่งอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าในขณะที่รถกำลังเดินเบาหรือขับด้วยความเร็วต่ำ ลิ้นปีกผีเสื้อจะเปิดขึ้น แต่ไม่สามารถปล่อยน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพียงพอ ดังนั้นทางแก้ของระบบคาร์บู ฯ จึงได้ออกแบบวงจรให้ทำงานสำหรับการเร่งความเร็วอย่างรวดเร็ว โดยใช้วิธีให้ปั๊มคันเร่งทำงานเพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติม ลักษณะการทำงานเมื่อเราเหยียบคันเร่งทันทีทันใด แกนปั๊มคันเร่งซึ่งเชื่อมต่อกับแกนลิ้นปีกผีเสื้อ ก็จะทำให้ลิ้นผีเลื้อเปิดออก แกนปั๊มจะดันลูกสูบปั๊มลงทำให้ลูกบอลทางเข้า ( Inlet check ball) ไปปิดช่องทางน้ำมัน จากนั้น น้ำมันเชื้อเพลิงในห้องปั๊มจะผ่านทางออกลูกบอลเหล็ก( Steel ball outlet) และหัวฉีดปั๊ม(Pump jet) และถูกปล่อยลงในเวนทูรีด้านหลัก
ภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกบอล


ภาพซ้ายมือ คือลูกบอลที่ทำหน้าที่ปิดน้ำมัน และเปิดน้ำมัน จะเห็นว่ามีขนาดแตกต่างกัน ลูกบอลที่อยู่ในแม่ปั้มเร่ง จะมีขนาดเล็กว่า และจะมีตัวกันเล็กเพื่อไม่ให้ลูกบอลหลุดออกมา ในขั้นตอนการรื้อให้ระวังส่วนนี้ สูญหาย และให้หาคีมหรือแหนบแบบปลายแหลมมากๆๆ มาใช้งาน นอกจากนี้แล้ว ส่วนที่สำคัญคือสปริงขนาดเล็ก ซึ่งหายากมาก มีบางช่างไม่ใส่มา มันจะทำให้มีปัญหากินน้ำมันได้ เพราะก่อนลูกบอลจะเปิด ต้องชนะแรงสปริงนี้ก่อน หากไม่มีสปริง น้ำมันจะออกได้เร็วมาก บางทีเกินความจำเป็น
ส่วนภาพขวามือ คือช่องทางของปั้มเร่ง และช่องทาง สำหรับน้ำมันออก ในกรณีที่เราเร่งคัดเร่งทันทีทันใด จะเห็นว่า มันจะฉีดตรงมายังตัวเวนจูรี่ ตัวใหญ่เลย
12.throttle valve
13.Main air bleed tube
14.Main air bleed hole
15.Large venturi
16.Main nozzle
17.Small venturi
18.Primary main jet
19.Cushion jet
20.Power jet
21.Power valve
22.Power piston
23.Power piston spring
ระบบหลัก (Primary main system]
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการทำงาน
13.Main air bleed tube ส่วนที่อากาศเข้า
14.Main air bleed hole ส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมัน (น้ำมันจะมาจากนมหนูหลัก)
15.Large venturi ช่องแคบขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่ทำให้เกิดสูญญากาศเพื่อดึงส่วนผสม
16.Main nozzle ตัวฉีดส่วนผสมหลัก
17.Small venturi ช่องแคบขนาดเล็ก
18.Primary main jet นมหนูหลัก ในห้องลูกลอย

โดยปกติ น้ำมันเชื้อเพลิงที่เข้าผ่านนมหนูหลัก (Primary Main jet) โดยนมหนูดังกล่าวเป็นตัวกำหนดน้ำมันเชื้อเพลิง หลังจากนั้นมันจะถูกผสมในส่วนที่เขาเรียกว่า Primary main air bleed tube (หมายเลข 13 ภาษาช่างไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร) ส่วนอากาศจะเข้ามาทางช่องทาง Main air bleed hole(หมายเลข 14) ซึ่งเป็นตัวกำหนดประมาณของอากาศ และพ่นออกสู่เวนทูรีผ่านหัวฉีดหลัก (main nozzle) หมายเลข 16

เส้นทางการเดินของระบบน้ำมันและอากาศ และส่วนผสมที่จะจ่ายเข้าสู่ห้องเผาใหม้ ในกรณีที่ลูกสูบกำลัง ยังไม่ทำงาน
ส่วนประกอบและระบบลูกสูบกำลัง
ลูกสูบกำลัง (Power jet) เป็นระบบที่ช่วยจ่ายน้ำมันเพิ่มเติมในกรณีที่รถมีโหลดสูง กว่าปกติด การทำงานจะมีเงือนไขหรือตัวควบคุมคือ ระบบสูญญากาศในท่อร่วมไอดี หากสูญญากาศลดลง ลูกสูบกำลังเพิ่มน้ำมัน จะทำงาน (Power piston) ลักษณะของลูกสูบเพิ่มน้ำมันจะประกอบด้วย

หมายเหตุ ในภาพพิมพ์ผิด ไม่ใช่แรงดันในท่อร่วมไอดี แต่เป็นระบบสูญญากาศในท่อร่วมไอดี
ส่วนประกอบ สปริงสำหรับกดลูกสูบ ในเวลาปกติที่สูญญากาศในท่อร่วมไอดีปกติสปริงตัวนี้ จะไปกดให้วาว์ลปิดช่องทางน้ำมันที่จะเข้าทางด้านขวามือซึ่งจะมีนมหนูเรียกว่า power Jet แต่เมื่อสูญญากาศในท่อรวมไอดีลดลงกว่าที่กำหนด จะมีแรงดูดให้ชนะสปริง แล้วทำให้ลูกสูบถอยหลังกลับ ไม่สามารถไปกดวาล์วได้ ทำให้วาล์วเปิดนมหนูที่อยู่ใน Powerjet ได้ และน้ำมันสามารถเข้าเพิ่มมาได้มากกว่าเดิม

ลักษณะการทำงาน ในกรณีที่ลูกสูบกำลัง เริ่มทำงาน เริ่มจาก มีเมื่อรถมีภาระสูง (เมื่อสูญญากาศของไอดีน้อยกว่าที่กำหนดไว้) และสูญญากาศในท่อร่วมไอดี ลดลง สปริงลูกสูบกำลังก็จะดันลูกสูบกำลังลงคือสปริงหมายเลข 2 จะหดตัว ทำให้วาล์วกำลังเปิดท่อเชื้อเพลิง จากนั้น เชื้อเพลิงในห้องลูกลอยจะถูกกำหนดโดยนมหนู หมายเลข 4 และผ่านช่องทางเดียวกันตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ส่วนผสมที่พ่นออกสู่เวนทูรีผ่านหัวฉีดหลักจะมีความเข้มข้นมากกว่าส่วนผสมที่อธิบายไว้ข้างต้น
เส้นทางระบบสูญญากาศ
เส้นทางระบบสูญญากาศ เป็นส่วนที่สำคัญต้องเรียนรู้เพราะจะทำให้เราแก้ปัญหาได้ ประกอบด้วย


การทำงานของระบบเริ่มจากเกิดสูญญากาศในท่อร่วมไอดี หากดูตามภาพจะเห็นว่ามีช่องสำหรับต่อสายแวคคั่มจากท่อรวมไอดีมายังฐานคาร์บู ฯ จากท่อดังกล่าว จะผ่านมายังสกรูสำหรับยึดฐานคาร์บู ฯ กับตัวคาร์บู


หลังจากนั้นจะมาออกตรงช่องทางตามภาพด้านบน ส่วนนี้จะมีปะเก็นอยู่ด้านบน หลังจากนั้น สูญญากาศ จะมายังท่อเล็กที่บนสุดของคาร์บู ฯ มีปะเก็นอยู่ด้านล่าง ท่อเล็กๆๆ นี้จะเชื่อมต่อกับรูที่ตัวสปริงอยู่ เมื่อสูญญากาศเข้ามา ตัวสปริงที่อยู่ในรูนั้นจะหดตัว ทำให้ วาล์วในหัองลูกลอยเปิดนมหนูกำลังให้น้ำมันเข้าเพิ่มมาได้ เป็นการช่วยเพิ่มส่วนผสมให้มีมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานของรถ
สรุป
คาร์บูเรเตอร์หลักๆๆ การทำงานแบ่งเป็น 2 ช่องทางคือ Primary และSecondary ความแตกต่างได้อธิบายมาแล้ว
ส่วนวงจรการทำงาน แบ่งออกเป็น
- ระบบเดินเบา หมายความว่า ตอนรถยังไม่เคลื่อนที่
- ระบบปั้มเร่ง คือตอนรถเริ่มเคลื่อนตัว เนื่องจากมีโหลดมาก หากให้เข้าใจง่ายๆๆ คือตอนที่เราเหยีบคันเร่งอย่างรวดเร็ว
- ระบบจ่ายส่วนผสมปกติ คือรถวิ่งความเร็วปกติ ไม่มีโหลดมากไม่เร่งเครื่อง
ในการรื้อหรือประกอบชิ้นสว่น
- การเชื่อมต่อสายแวคคัมต่างๆ หากไม่มั่นใจให้ถ่ายรูปเก็บไว้
- ส่วนไหนที่เราไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดให้ถอดแยกไว้ก่อน เช่น โซลินอยล์ แวคคั่มต่างๆๆ
- ต้องถอนประกอบในภาชนะ เพราะมีชิ้นส่วนเล็กๆๆ ที่อาจสูญหายได้ง่าย
- เครื่องมือ ต้องมีพวกอุปกรณ์ที่สามารถจับชิ้นส่วนเล็กๆๆ ได้ และคีมปากแหลมต้องมี เพราะต้องใช้มาก
- ลูกบอล จะมีขนาดไม่เท่ากัน ลูกบอลในปั้มเร่งจะมีขนาดเล็กกว่า ลูกบอลที่จ่ายน้ำมันในช่องหัวฉีดปั้มเร่ง
- สกรูปรับอากาศเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะมันจะมีส่วนกระทบกับการผสมอากาศระหว่างเดินเบา และในขณะรถวิ่งปกติ ให้ตรวจสอบให้ดีว่า สึกหรอมากหรือไม่ การปรับแต่ง
- สตาร์ทเครื่องให้ได้ความเร็วรอบ 800 รอบ แล้วหมุนสกรูปรับอากาศเข้าหรือออก หาจุดที่เครื่องยนต์ peek ที่สุด คือรูปสูงที่สุด แล้วค่อยปรับความเร็วรอบลงให้เหลือ 800 รอบ อย่าให้รอบต่ำกว่านั้น เพราะมันจะมีปัญหาการเคลื่อนตัวของรถขณะออกตัวรถ
ส่วนประกอบภายนอกของ Carb












