Mr.Green

สร้าง บันทึกและแบ่งปัน

พิมพ์ค้นหาบทความได้ในช่องค้นหา

Ip address v4

สิ่งที่ต้องน่าจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หลังแล้วเข้าใจด้วยเพราะมันเกี่ยวข้องกันกับ IP address คือ

  • การทำ Subnet mask
  • ความหมายของ Mac Address
  • Router คืออะไร
  • การทำงานของ ARP Protocal 
  • Default Gateway คืออะไร
  • เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ DHCP Server
  • เข้าใจการทำ NAT
  • เรียนรู้โครงสร้างของ OSI Models or TCP/IP
  • TCP VS UDP

What is an IP address?

IP Address มันจะเกี่ยวเนื่องกับการติดต่อสื่อสาร ในระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบ Network  มีส่วนประกอบเบื้องต้นดังนี้ครับ

  • IP Address จะอยู่ในรูปแบบตัวเลขจำนวน 4 ชุด  แบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุด  แต่ละชุดเรียกว่า Octets
  • มันจะเป็นตัวแยกแยะคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
  • อุปกรณ์ ทุกชิ้นในระบบเครือข่ายต้องมี IP Address เพื่อติดต่อสือสารกัน
  • IP Address ประกอบด้วย  2  ส่วน คือ ส่วนของ Network ID กับ Host ID
  • ปัจจุบันมี IPv4  and IPv6
  • IP Address จะทำงานอยู่บน Layer 3  ของ OSI MODEL รับส่งข้อมูลในรูปแบบ Packet
  • จะทำงานคู่กับ Mac Address โดยใช้ IP Address จะเป็นตัวระบุสถานที่ติดต่อ เพื่อขอทราบ Mac Address และใช้ Arp Protocol เป็นตัวค้นหา เมื่อพบก็เริ่มติดต่อกัน

IP   มาจากคำว่า  Internet Protocol     เป็นส่วนหนึ่งของ  Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) network

TCP/IP  มันคือชุดของ Protocol เพื่อใช้ในการติดต่อสือสารบนอินเตอร์เน็ต หรือในระบบเน็ตเวิร์คภายในบ้านของเราเอง   หรือเครือข่ายภายในบ้านเรากับอินเตอร์เน็ต

IP Address  คือชุดตัวเลขชุดหนึ่ง ที่ถูกกำหนดขึ้นมาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เพื่อระบุสถานที่ให้กับคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน  และแต่ละเครื่องที่ระบุหมายเลขดังกล่าวจะต้องไม่ซ้ำกัน   เพื่อพิสูจน์ตัวตนของ Host ในเครือข่าย และเป็นตัวแยกแยะว่าอยู่ในเครือข่ายไหน

กันสับสนนะครับ  คือในระบบเครือข่าย ไม่ได้มีแต่คอมพิวเตอร์อย่างเดียว มันมีอย่างอื่นด้วย เช่น Router  บางที ก็จะเรียกรวมกันว่า Host นะครับ

แล้ว IP Address ได้มาจากไหน

  • กรณีที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้จ่าย IP Address มาให้เราคือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  โดยจ่ายมาให้กับ Router ที่บ้านเราหรือองค์กร ที่ขอใช้อินเตอร์เน็ต (ตอนเขามาติดตั้งเขาจะเอาอุปกรณ์มาให้ ตัวนี้นแหละครับคือ Router)
  • ส่วนกรณี เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้านของเรา ตัวที่จ่าย Ip Address ให้กับคอมพิวเตอร์คือ Router อีกนั้นแหละ เพราะภายใน Router จะมีตัวจ่าย IP Address เรียกว่า DHCP  Server แต่ IP ที่ได้รับภายในเครือข่ายในบ้านเรา กับวงระบบอินเตอร์เน็ต จะแตกต่างกัน

เราเตอร์คืออะไร เดี่ยวจะวางบทความให้ตรงนี้ครับ 

           คิดง่ายๆๆ แบบนี้ นะครับ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่วย หากต้องการจะติดต่อกัน หากไม่มีการกำหนดค่าอะไรสักอย่างเพื่อยืนยันตัวตนของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่าย ( Host )  มันก็ไม่รู้จะติดต่ออย่างไร เพราะไม่มีสถานที่ติดต่อกัน เขาก็เลยต้องกำหนดสถานที่ให้กับ Host ในเครือข่ายทุกตัว  แต่ต้องไม่ซ้ำกัน ก็แน่นอนอยู่แล้วครับ หาก กำหนดให้สถานที่ซ้ำกันคนส่งก็จะงง ไม่รู้จะส่งให้ใคร 

          แต่มันก็มีปัญหาอีกคือ คนกับคอมพิวเตอร์จะ จะเข้าใจภาษาแตกต่างกัน

          ทางแก้ คือกรณีที่จะกำหนดให้คนเข้าใจจะอยู่ในรูปแบบฐานสิบ   โดยให้มันตัวแทนในการแสดงค่าของเลขฐานสอง ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ แต่ในการทำงานจริง มันจะทำงานในรูปแบบฐานสอง คือเลข 1 กับ 0 เท่านั้น เพราะคอมพิวเตอร์เข้าใจ

ตัวอย่าง รูปแบบของ IP Address

รูปแบบของ IP Address

IP Address มันจะแบ่งออกเป็น 4 Octet แต่ละ Octet แบ่งเป็น 8  bit รวมแล้วเท่ากับ 32 bit  ตามภาพข้างบน  ลองเข้าไปในเว็บนี้  https://www.browserling.com/tools/ip-to-bin   มันจะแปลง Ip Addrss ให้เป็นเลขฐานสอง (binary)  หรือเว็บอื่นก็ได้ครับมีหลายเว็บ

ลักษณะการแบ่งเป็น Network Address และ Host Address (กรณีของ คลาส C นะครับ)

กรณีที่ IP Address จะแยกแยะว่าอยู่เครือข่ายไหน อย่างกรณี Class C  ตามภาพข้างบน จะใช้วิธีการตรวจสอบ Octet  หาก Octet  3 ตัวแรกเหมือนกัน คอมพิวเตอร์จะรู้ทันว่า เป็นเครือข่ายเดียวกัน  แต่หาก แตกต่างกัน ก็จะรู้ว่าคนละเครือข่ายกัน

ลักษณะการแยกแยะของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเอง และระหว่างเครือข่าย

จากตัวอย่างภาพด้านบน จะเห็นว่า  กรณี Class C  จะแยกออกเป็น 2 เครือข่าย เพราะว่า 3 Octet ตัวหน้าจะไม่เหมือนกัน 

  1. เครือข่ายแรก เท่ากับ 192.168.10
  2. อีกเครือข่าย เท่ากับ  192.168.5 

จริงๆๆ แล้ว IP Address  แค่กำหนดถิ่นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์นะครับ  คือแค่ต้องการรู้ว่าคอมพิวเตอร์ที่ต้องการจะติดต่อนั้นหมายเลข IP อะไร ส่วนการติดต่อกันจริงๆๆ แล้ว ในการระบุตัวตนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ในเครือข่าย จะใช้ Mac  Address  ในการติดต่อกันครับ

แต่มันก็ต้องใช้คู่กันครับ ระหว่าง IP address  กับ Mac Address เพราะมันจะติดต่อไปยัง  IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย พร้อมกับสอบถามว่า  หมายเลข Mac Address ของคุณคืออะไร รบกวนส่งมาให้หน่อย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพื่อนรู้แต่ IP address แต่ไม่ทราบ Mac Address ก็จะส่งกลับไปให้ครับ คอมพิวเตอร์ที่ร้องขอมา  หลังจากนั้นก็เริ่มการติดต่อกัน

และในส่วนนี้ Protocol ที่ช่วยจัดการคือ ARP Protocol อ่านได้จากบทความนี้ครับ

IP Addresses are Logical Address:

 IP address  ไม่มีค่าตายตัว อย่าง Mac Address (คือตัวเลขที่ผู้ผลิดการ์ดแลนทั้งแบบไร้สายและใช้สาย เขียนกำกับลงบนอุปกรณ์แต่ละชิ้นไม่ซ้ำกัน)   เราสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง Ip Address ได้ตลอดเวลา

          IP Address  ที่คอมพิวเตอร์ได้รับเมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในบ้านหรือที่ทำงาน มันจะถูกจัดสรรโดยซอฟแวร์จาก Router หรือ Server  ซึ่งจะทำงานบน  Layer 3   ของ  TCP/IP ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บ้าน เราเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในบ้านเพื่อออกสู่อินเตอร์เน็ต เราก็จะได้รับ IP Address จาก Router ที่บ้านเรา 

          ต่อมาเมื่อเรามาที่ทำงานก็เชื่อมต่อกับเครือข่ายในที่ทำงานของเราเพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต เราก็จะได้รับ IP Address ใหม่อีกหมายเลขหนึ่ง คนละ IP Address กับที่เราได้รับจากเร้าเตอร์ที่บ้าน

         เช่นกัน router ของเราที่บ้านหรือที่ทำงาน ก็จะได้รับการจัดสรร IP Address จากผู้ให้บริการ ก็จะได้รับคนละตัวกัน หากไฟฟ้าดับหรือระบบมีปัญหา เมื่อเชื่อมต่อเพื่อขอรับ IP Address ใหม่  IP Address ที่ได้รับจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ก็จะได้ หมายเลข IP คนละตัวกัน คือมันจะเปลี่ยนไปได้ตลอดไม่คงที่

         เราเรียก IP Address ชนิดนี้ว่า Logical Address    

Two versions of IP:

IP Address มี สองเวอร์ชั่นครับคือ

  • IPv4 & IPv6 

There are 2 methods for assigning IP Addresses :

การกำหนด IP Address ให้กับ Host หรือคอมพิวเตอร์   สามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ คือ

Dynamic

          คือการกำหนดหมายเลข IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์หรือ Host    โดยมอบหมายหน้าที่ให้กับ Router เป็นตัวจ่ายหมายเลข IP Address ให้กับ Host ในเครือข่าย ซึ่งภายใน Router นั้นจะมีตัวจัดการจ่าย IP Address ให้กับ Host เรียกว่า DHCP Server 

          แบบนี้ เราแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ กำหนดในคอมพิวเตอร์ว่าให้รับ IP Address โดยอัติโนมัติ ซึ่งในกรณที่เราใช้ วินโดว์ กำหนดการรับ IP Address ตรง Obtain an IP Address automatically  คอมพิวเตอร์ก็จะได้รับ IP Address ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเองแต่อย่างใด  

          ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ตอนที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจ่าย IP address ให้กับ Router ที่บ้านเรา มันจะไม่ใช่ค่า IP Address เดิม จะมีการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลง เมื่ออินเตอร์เน็ตที่บ้านเราหลุดหรือไฟฟ้าดับ หรืออย่างอื่น 

         ทดลอง พิมพ์คำว่า My  Ip Address ใน Google  แล้วปิด Router เมื่อปิดมันใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ก็ลองพิมพ์ แบบเดิม จะเห็นว่า IP Adress เปลี่ยนไป

         นั้นแหละครับ คือ Dynamic Ip Address

ตัวอย่างครับ  เมื่อเราใช้คำสั่ง  ipconfig /all ผ่าน command promt จะปรากฏดังภาพ (คลิกภาพเพื่อขยายได้)

จะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เครื่องนี้   กำหนดแบบ Dyanamic IP adress 

ให้ดูตรง DHCP Enable  = yes 

กรณีที่เราจะตรวจสอบว่า Dynamic Ip Address มีการเคลือนไหว หรือไม่มีค่าคงทีหรือไม่ ตรวจสอบง่าย ผ่าน Google หรือจะค้นหา IP Address ผ่านเว็บอื่นก็ได้ครับมีเยอะ

Static:
มันคือการที่เรากำหนดค่า IP Address ขึ้นมาเองนะครับ ซึ่งอย่าคิดว่าเรามีสิทธิ์หมดนะครับ เราสามารถทำได้เฉพาะในวงเครือข่ายบ้านเราเท่านั้น และเราเลือกได้ว่าจะใช้ IP Address  คลาสไหน  แต่ส่วนมาก Classes C นั้นแหละครับ เพราะ Router ที่ได้รับจากผู้ให้บริการส่วนมาก ค่าดีฟอลต์ของ  IP Address คือ 192.168.1.1

          ความหมายของคำว่า กำหนด IP Address เอง คือเราพิมพ์เองกับมือว่าเป็นหมายเลขไหน โดยการปิดการรับค่าไอพีอัตโนมัติของคอมพิวเตอร์เราก่อน แล้วถึงจะมี ช่องให้กรอก 

          ในการกรอก ไม่ใช่กรอกเฉพาะ IP Address ตัวเดียวนะครับ มันรวมถึง Subnet mask ,Gateway,DNS Serverด้วย และต้องไม่ให้หมายเลข Ip Address แต่ละเครื่องซ้ำกัน  รวมทั้งต้องอยู่ในวงเดียวกับ IP Address  ของ Router

5 Classes of IP Addresses (Class full IP Addresses) :

ความหมายคือมีการแบ่ง Ip Address  ออกเป็น 5  Classes หรือ 5 กลุ่มตามประเภทจำนวนการใช้งานว่ามากหรือน้อยครับ   (เอาแค่รู้นะครับ เพราะพวกเราคงไม่มีโอกาสจัดสรรคือดำเนินการอย่างใด ให้รู้พอว่า พอเห็นปุ้บหรือรู้ว่า IP Address นั้นอยู่ในคลาสไหน หรือกลุ่มไหนก็พอครับ ไว้สำหรับแก้ปัญหาในเครือข่าย )

  • ที่ใช้ได้ทั่วไปในระบบอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายภายในบ้านเรา มีอยู่แค่  3  Clase เท่านั้นนะครับที่ใช้ได้
    • CLASS A – Reserved for Government Organisations.ใช้สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ เริ่มตั้งแต่ หมายเลข 1 to 127
    • CLASS B – Reserved for Medium Companies. ขนาดกลาง  เริ่มตั้งแต่ หมายเลข 128 to 191
    • CLASS C – Reserved for Small Companies. เครือข่ายขนาดเล็ก เริ่มตั้งแต่ 192 to 223  ในเครือข่ายในบ้านเรา ส่วนมากก็ใช้ อันนี้แหละครับ (แต่เป็น Private IP) 
  • ส่วนในกลุ่ม 2 กลุ่มนี้ เขากันไว้สำหรับใช้ในการทำงานอย่างอื่น (เดี่ยวแยกบทความให้ครับ ) มี
    • CLASS D – Reserved for Multicasting. เริ่มต้นตั้งแตหมายเลข 224 to 239
    • CLASS E – Reserved for Experimental Purposes. เริ่มต้นแต่  240 to 255

Network Id and Host Id :

Ip Address จะแบ่งออกเป็นสองส่วนครับ 

  1. Network Part หรือ Network ID หรือ Network Address แล้วแต่เขาจะอธิบายครับ
  2. Host Part หรือ Host ID หรือ Host Address  เช่นกัน ครับแล้วแต่เขาอธิบาย 

ก็ขอเรียกว่า ID ก็แล้วกันนะครับพิมพ์ง่ายดี

  • Network ID มันจะเป็นตัวแยกแยะว่าเป็น Network ครับ
  • Host ID เป็นตัวที่ใช้กำหนดหมายเลขเฉพาะให้ครับ Host (คือคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในเครือข่ายครับ เรียกรวมกันว่า Host) ในเครือข่ายนั้นครับ 

การแบ่ง  Network ID  และ Host ID ในแต่ละ  Classes  ส่วนรายละเอียดอื่นดูได้จากที่นี้ครับ 

รูปแบบการแบ่ง IP Address เป็น Network ID กับ Host ID

การแบ่ง IP Address ออกเป็นแต่ละ Clases  แบ่งโดยการทำ Default Subnet Mask  เราต้องเข้าใจ Subnet Mask ด้วยครับ แต่ไม่ต้องคิดมากหรอกครับ เดียวนี้ อยากรู้อะไร มีเว็บคำนวนให้หมดครับ เรียนให้พอรู้พอครับ ว่ามันทำงานอย่างไร ไว้แก้ปัญหา 

กลุ่มแรก Class A 

a class A address Default Subnet Mask 255.0.0.0

กลุ่มสอง  Class B

a class B address Default Subnet Mask 255.255.0.0.

กลุ่มสาม Class C 

a class C address Default Subnet Mask 255.255.255.0

ยกตัวอย่าง

หมายเลข IP =192.168.1.1  เป็น IP Address อยู่ใน Clas C แบ่งเป็น Network ID และ Host ID แบบนี้ ครับ 

192.168.1.1         ดูตรงตัวสีเขียวเข้ม นั้นแหละครับ คือ Network ID ส่วนสีแดงนั้นคือ Host ID ครับ

มาดูตัวอย่างต่อครับ  เกี่ยวกับ Network ID ตามตัวอย่างข้างล่าง ตรงตัวสีเขียว จะมีการเปลี่ยนตัวเลข หากเป็นแบบนั้น แสดงว่าอยู่คนละเครือข่ายกันครับ  ย้ำว่า กรณี Clas C นะครับ เดี่ยวจะบอกโครงสร้างแต่ละ  Class ให้

192.168.1.1 ,192.168.2.1 ,192.168.3.1 

มาดูตัวอย่างเกี่ยวกับ Host ID ดูตรงตัวท้ายสีแดง นั้นแหละครับ คือ Host ID  ย้ำอีกครั้งวาเป็น Class C นะครับ 

192.168.1.1    192.168.1.2    192.168.1.x

ตัว Host ID นี่แหละครับ ที่คอมพิวเตอร์ในเครือขายหรืออุปกรณ์ในเครือข่ายจะถูกกำหนดให้มันเปลี่ยนไปตามจำนวนเครื่อง  หากเป็น Class C จะได้ตั้งแต่ X =1-254 เครื่อง/อุปกรณ์

Private & Public IP Addresses:

IP Address แบ่งออกเป็น แบบส่วนตัวและสาธารณะ หรือบางทีอาจจะอธิบายว่า IP จริง IP ปลอม  เอาเป็นว่า แบ่งเป็น Public กับ Private จำง่ายดี เวลาอ่านบทความอื่นจะได้เข้าใจ

  • Private
    เป็น IP Address ที่ไม่สามารถออกอินเตอร์เน็ตได้ ส่วนมากเป็นเครือข่ายภายในบ้านหรือองค์กรต่างๆๆ    มันก็แบ่งออกเป็นคลาส แบบที่ผ่านมานั้นแหละครับ แต่ในแต่ละคลาส มันจะแยกออกเป็นส่วนที่ออกอินเตอร์เน็ตได้ กับในส่วนที่ออกอินเตอร์เน็ตไมได้  รวมกันอยู่ในคลาสเดียวกัน 

ยกตัวอย่างนะครับ  Clase A เขากำหนดขึ้นมาสำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ หากมีขนาดใหญ่มาก็ใช้ตัวนี้ ขณะเดียวกัน ภายในองค์หรือหน่วยงานใหญ่ที่ปล่อยอินเตอร์เน็ตให้กับลูกข่าย เช่น โรงเรียนมีนักเรียนเกิน 254 คน หากใช้ IP แบบ Clase C มันก็ไม่พอ ก็ต้องปรับ Private  ip ให้มากพอกับเด็กนักเรียนก็ต้องมาใช้ Class A แทน

พอพิมพ์มาถึงจุดนี้ บางคนอาจจะสงสัย เหมือนที่เคยสงสัยมานั้นหละครับ คือเขาบอกว่า Private IP  ไม่สามารถออกอินเตอร์เน็ตได้  แต่พอตรวจสอบ หมายเลข IP ในเครื่องมันเป็น IP Address แบบ Private แล้วทำไมมันออกอินเตอร์เน็ตได้ปกติ

          คือแบบนี้นะครับ เราได้รับ Private IP ก็จริงครับ แต่มันวิ่งผ่าน Router และในเราเตอร์นั้น ทำ NAT อีกที โดยใช้  Public Ip ที่ Router ได้รับจาก ISP  เท่ากับว่า เราออกอินเตอร์เน็ตได้ เพราะประตูที่เปิดผ่าน Router ของแต่ละบ้านหรือสำนักงานครับ  หากไม่มี Router เราก็ไม่สามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้ครับ

  • Public

IP Addresses  แบบนี้แหละครับ สามารถออกหรือเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้  Ip แบบนี้ เราไม่สามารถกำหนดค่าได้เองเพราะผู้จ่ายมาให้เราคือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จะจ่ายมาให้ที่ Router ที่ผู้ให้บริการเอามาติดตั้งให้เราขณะขอใช้อินเตอร์เน็ต  และ IP ที่ได้รับจะไม่คงที คือจะเป็นแบบ Dynamic IP ซึ่ง ผู้ให้บริการเองก็ได้รับการจัดสรร มาอีกทีหนึ่ง

หากเราทราบหมายเลข IP นี้ เราสามารถตรวจสอบได้ครับ ว่า หมายเลขนี้  ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเจ้าไหน ได้รับการจัดสรรรมาให้

หากมีคำถามว่า เราจะใช้ Pubic IP Address ที่บ้านได้หรือไม่  ได้ครับ เราสามารถใช้ IP Address แบบค่าคงที่คือไม่เปลี่ยนแปลงหมายเลขได้ แต่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมากกว่า แบบที่ได้รับแบบค่าไม่คงที่ครับ

IP Addresses are Unique:

IP Address จะต้องมีลักษณะเฉพาะ ในเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่ง อุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่ายนั้นจะต้องมีหมายเลข IP ที่ไม่ซ้ำกัน มันก็เป็นเรื่องปกติครับ หากซ้ำกันมันก็มีปัญหา เพราะเวลาติดต่อกันไม่รู้จะส่งข้อมูลให้ใคร และที่แน่ๆๆ ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ซ้ำกันอยู่แล้วครับ เพราะอย่างที่บอกก่อนจะใช้ IP Address ต้องมีการลงทะเบียนใช้หรือต้องได้รับการจัดสรรมาให้ว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแต่ละรายได้รับ IP อะไรบ้าง

ส่วนระบบเครือข่ายภายในบ้าน ส่วนมาก Router ก็เป็นตัวจ่ายให้อยู่แล้วและหากบ้านคนละหลังกัน IP Address ซ้ำกัน ก็ไม่มีปัญหาครับ เพราะมันคนละเครือข่ายกัน 

IP Addresses Identifies a Device on a Network:

 IP Address  มันจะเป็นตัวแยกแยะครับ ว่าคอมพิวเตอร์ของเราอยู่ในเครือข่ายไหน อย่างไร โดยการทำ  Subnet mask ครับ คือโดยปกติถ้าอ่านคำนิยาม IP Address คืออะไร นอกจากมันจะเป็นสถานที่ในการติดต่อแล้ว มันยังทำหน้าแยกแยะเครือข่ายด้วยครับ มันแยกแยะ โดย IP Address  จะแบ่งเป็น network Id and Host Id   ครับ  ดูรายละเอียดเพิ่มจากนี้ครับ

แต่ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ในแต่ละคลาสของ  IP Address มีการแบ่ง Subnet Mask  อย่างไร

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ขณะที่เขียนบทความนี้

  • ใช้คำสั่ง ipconfig/all  พบว่า
    • หมายเลข IP ของคอมพิวเตอร์ที่ได้รับจาก Router ที่บ้าน เป็นหมายเลข 192.168.10.14
  • พิมพ์  my ip address ใน google
    • ได้รับค่า IP ที่ผู้ให้บริการจ่ายมาให้ที่ router ของที่บ้าน หมายเลข 223.204.99.18
  • ลองเข้าเว็บนี้ แล้วตรวจสอบว่า IP ที่ได้รับมา อยู่ในกลุ่มไหน https://ipaddress.standingtech.com/online-ip-address-class-finder-detector  ผลปรากฏว่า อยู่ใน Class C From 192.0.0.0 to 223.255.255.255  

มาถึงจุดนี้ เราเห็นแล้วใช่ไหมครับว่า

  1. ที่บ้านเราได้รับ IP ที่จ่ายจาก Router คือ 192.168.10.14 คือ คลาส C แต่เป็นหมายเลขชุดที่ออกอินเตอร์เน็ตไม่ได้
  2. ขณะเดียวกัน isp จ่าย หมายเลข 223.204.99.18 คลาส C  เช่นกัน แต่เป็นชุดที่ออกอินเตอร์เน็ตได้
  3. แต่ที่แตกต่างกันคือมันอยู่คนละเครือข่ายกันครับ กรณี คลาส C ให้ดู  ที่สีแดงนะครับ
  4. จุดนี้แหละครับที่บอกว่า แยกแยะเครือข่าย หากคอมพิวเตอรี่ในบ้านเรา ต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่นเราจะเข้า Google ซึ่งมีหมายเลข IP  172.217.174.174 ซึงอยุ่ใน คลาส B 
  5. ระบบก็จะตรวจสอบครับ เมื่อพบว่า ตัวเลขสีแดงแตกต่างกันกับในวงเครือข่ายภายในบ้าน มันก็จะวิ่งออกสู่ Router เพื่อหาเส้นทางไปยังที่ต้องการต่อไปครับ

รายละเอียดในส่วนนี้ จะอธิบายเพิ่มเติมใน Default Gateway

คิดว่าน่าจะพอเข้าใจในเบื้องต้นนะครับ อันนี้คือ ในส่วนที่เราทำความเข้าใจครับ แต่หากเราเข้าใจเราสามารถไปปรับแต่งอุปกรณ์ ต่างๆๆ ในระบบเน็ตเวิร์คได้อย่างง่าย และเป็นไปตามที่เราต้องการได้ครับ

Tags:  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *